วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

ปรัชญาอัตถิภาวนิยมของฟรีดริค นิตเช่ ( Friedrich Nietzsche, 1844-1900)

 

อัตถิภาวนิยม(Existentialism) คือทรรศนะทางปรัชญาที่ให้ความสำคัญแก่ปัจเจกภาพ มากกว่าสากลภาพ เสรีภาพมากกว่าระเบียบกฏเกณฑ์ การสร้างสรรค์มากกว่าระเบียบ แบบแผน ความรู้มากกว่าเหตุผล และให้ความสำคัญแก่ความรู้เชิงอัตนัย (Subjective knowledge) เช่น ความรู้ที่เกิดจากการประสบด้วยตนเอง มากกว่าความรู้เชิงปรนัย (Objective knowledge) เช่น ความรู้ที่เกิดจากเหตุผล กล่าาวคือ ถือว่าความรู้เชิงอัตนัยมีน้ำหนักมากกว่าความรู้เชิงปรนัย

 

ปรัชญาอัตถิภาวนิยมของฟรีดริค นิตเช่

รวบรวมเรียบเรียงโดย ดร. สมบูรณ์ วัฒนะ

นำเรื่อง


.           ไฟรดริกซ์ นิตเช่ ( Friedrich Nietzsche, 1844-1900) เป็นนักวรรณคดีและนักปรัชญาชาวเยอรมัน แนวความคิดเรื่อง อภิมนุษย์ (Superman) ได้มีอิทธิพลต่ออัตถิภาวนิยมพอสมควรทีเดียว หลักการอภิมนุษย์ คือ ผู้ที่มีบุคลิกภาพแข็งแกร่งย่อมมีแนวทางแห่งชีวิตเป็นของตนเอง โดยมุ่งไปสู่ความเป็นอภิมนุษย์ การเดินตามประเพณีเป็นวิธีเลี่ยงความรับผิดชอบ เป็นวิธีการแห่งชีวิตของคนอ่อนแอ  พวกนี้ไม่มีโอกาสจะก้าวหน้าขึ้นสู่ความเป็นอภิมนุษย์ แต่อาจจะเป็นเครื่องมือของคนที่มีบุคลิกภาพแข็งแกร่ง นิตเช่ปฏิเสธความสำคัญของการสร้างปรัชญาที่เป็นระบบ แต่ให้ความสำคัญแก่ปรัชญาชีวิต ชีวิตที่มีค่าคือชีวิตที่พัฒนาความแข็งแกร่งและความพร้อมที่จะเผชิญกับความเจ็บปวดของชีวิตอันเนื่องมาจากความมีอยู่ของตนอย่างกล้าหาญและเป็นจริง มิใช่การพยายามโบยบินเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการซึ่งให้ความอบอุ่นและมั่นคง เช่น การดำเนินชีวิตตามประเพณีและสังคม บุคคลที่แข็งแกร่งและมีความกล้าหาญที่จะเผชิญกับความเป็นจริงดังกล่าวคือ ผู้กำลังมุ่งไปสู่ความเป็นอภิมนุษย์
                นิตเช่ ได้สมญาว่าเป็น นักปรัชญาวัฒนธรรม (Philosopher of culture) เพราะได้เสนอความคิดใหม่ๆ ไว้มากมายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วรรคดี ดนตรี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับวัฒนธรรมกรีก แนวคิดของท่านได้มีนักคิดรุ่นต่อมานำไปสนับสนุนความคิดของตนเองมากมายหลายแบบ จนยากที่จะกำหนดว่าระบบแห่งแนวคิดใดเป็นของนิตเช่จริงๆ และจริงๆ แล้วนิตเช่ก็ไม่เคยเสนอความคิดอย่างเป็นระบบไม่เคยประกาศว่า ต้องการให้แนวความคิดของตนเป็นไปในรูปใดโดยเฉพาะ ด้วยสาเหตุที่ว่าแล้วแต่ใครจะนำแนวความคิดของนิตเช่ไปขยายความ และสนับสนุนแนวคิดของตน จึงทำให้แนวคิดของนิตเช่มีอิทธิพลได้อย่างกว้างขวาง ลัทธิปรัชญาของนิตเช่ ได้รับขนานนามว่า ลัทธิเจตจำนงนิยม” (Voluntaianism) จากนักประวัติปรัชญาเพียงเพราะนิตเช่เชื่อในพลังอันหนึ่งคือพลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายในเอกภพว่า เจตจำนงที่จะมีอำนาจ” (Will –To- Power)

            นิตเช่ ได้เสนอแนวคิดที่ทำให้ชาวโลกต้องตกตลึง เมื่อ เขาได้เสนอแนวคิดปรัชญาผ่านทางประสบการณ์ชีวิต เงื่อนไข ปัจจัยต่าง ๆ ของการดำเนินชีวิตของมนุษย์  เป็นที่ทราบกันดีว่า นิตเช่นั้นได้อุทิศชีวิตในการขบคิดปัญหาแห่งชีวิตและเพื่อแก้ไขปัญหาชีวิตมนุษย์ นิตเช่ได้สำนึกว่าชีวิตมนุษย์มันสลับซับซ้อน และมนุษย์ไม่เคยมีใครเข้าใจเลย ไม่เหมือนกับชีวิตของสัตว์ทั่ว ๆ ไป ซึ่งอยู่ในกรอบของธรรมชาติอย่างชัดเจน เราสามารถสังเกตเข้าใจพฤติกรรมของสัตว์ได้ แต่มนุษย์ไม่สามารถเข้าใจกันเองได้เลย ที่เป็นดังนั้น เพราะมนุษย์ได้พยายามมีอิสระจากกรอบของธรรมชาติ
                นิตเช่ มีชีวิตโดดเดี่ยว เพราะว่าเขาได้แยกตัวออกจากสังคมมนุษย์ทั่ว ๆ ไป ถ้าเปรียบเทียบนิตเช่กับคีร์เคกอร์ด ดูเหมือนว่า คีร์เคกอร์ดจะคล้ายดวงวิญญาณระดับเดียวกับชาวโลกมากกว่า เพราะท่านคีร์เคกอร์ดได้ผังรกรากไว้อย่างมั่นคงที่บ้านเกิดของท่าน ถึงแม้ว่าคีร์เคกอร์ดจะไม่ได้สนิทชิดเชื้อประสาเพื่อนฝูงกับผู้คนทั้งหลาย ท่านก็รักบ้านเกิดของท่าน โคเปนเฮเกน คือบ้านเกิดของท่าน นิตเช่เป็นคนไร้บ้าน ชีวิตระเหเร่ร่อนไปเรื่อย เกิดที่ ปรัสเซีย ใช้ชีวิตในเยอรมัน เดนมาร์ค ฯลฯ  ชีวิตของนิตเช่ เป็นชีวิตที่ช่วยตักเตือนสติมนุษย์สมัยใหม่ เนื่องจากสมัยใหม่ถูกฉุดดึงโดยพลังแห่งยักษ์ไททัน คือ ความชั่วร้ายจากอำนาจกิเลส ตัณหา ซึ่งมีอยู่ในตัวของมนุษย์เอง คำถามที่สำคัญสำหรับมนุษย์ คือ คำถามเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่ การตาย เพื่อที่ว่ามนุษย์จะได้จัดการกับชีวิตของตนเองอีกครั้ง ในการติดต่อสัมพันธ์กับชีวิตในชีวิตก่อนๆ เมื่อเขาได้ตายจากชาติปัจจุบัน ว่ากันว่า ชีวิตนิตเช่ได้รับความมัวหมองจากลัทธินิทเซียนของพวกนาซี เยอรมัน โชคชะตาชีวิตของนิตเช่ เป็นตอนที่สำคัญตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์แห่งความพยายามของมนุษย์เพื่อที่จะรู้จักตัวเอง
                นิตเช่ เสนอปัญหาปรัชญาในแนวทางเดียวกันกับคีร์เคกอร์ด นิตเช่ได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มเพื่ออธิบายจุดยืนทางปรัชญาของตนเอง แต่ถึงกระนั้นก็ไม่มีเล่มไหนที่เสนอแนวคิดของท่านได้อย่างชัดแจ้ง และเป็นระบบ แต่ผลงานของท่านก็ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม ปรัชญาของท่านไม่มีระบบเพราะท่านก็ไม่ต้องการให้เป็นระบบ  นิตเช่ยืนยันว่า ประโยคข้อความของปรัชญาจักต้องมีความเป็นตัวของตัวเองในแง่ของความหมาย โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบ นิตเช่เห็นว่า ระบบมาจากหลักฐานบางอย่างซึ่งตัวมันเองก็ยังไม่ได้ถูกตรวจสอบ ดังนั้น มันเป็นหน้าที่ของปรัชญาที่จะต้องตั้งคำถามต่อทุก ๆ ข้อสมมติฐานและทุก ๆ สิ่งที่ประสบ  นิตเช่พูดว่า ข้าพเจ้าขอต่อต้านการตั้งหลักฐานด้วยหลักเกณฑ์ที่ไม่มีการพิสูจน์เหล่านี้ ซึ่งพิจารณาว่า อาจเป็นอันตรายระบบไม่ใช่อะไรอื่นแต่เป็นการขออภัยที่จะหยุดการตั้งคำถามในบางจุด นิตเช่ปฏิเสธระบบเพราะท่านต้องการเห็นทางเลือกหลายๆ ทาง นิตเช่มีความคิดเหมือนคีร์เคกอร์ดที่ว่า ทั้งสองท่านไม่พอใจกับการทำปรัชญาให้เป็นระบบ และท่านทั้งสองแตกต่างกันตรงที่ว่า นิตเช่ เห็นว่า ระบบไม่ได้ให้ความจริงเลย แต่คีร์เคกอร์ดเห็นว่า ระบบให้ความจริงเชิงปรวิสัย (Objective Truth)  ซึ่งไม่เป็นรูปธรรมเหมือนความจริงแบบสกวิสัย(Subjective Truth) นิตเช่เห็นว่าระบบไม่ได้ละเลยความสำคัญของปัจเจกชน แต่ว่ามันละเลยความจริง โดยที่มันละเลยการตั้งคำถามเกี่ยวกับดวงวิญญาณ และท่านนิตเช่ก็ย้ำว่า ระบบให้แต่ความจริงแบบปรวิสัย ซึ่งมันไม่ใช่ความจริงเลย
แนวคิดแบบอัตถิภาวนิยม
                - เจตจำนงที่จะมีอำนาจ (The will to power) เจตจำนงที่จะมีอำนาจนี้คือพลังกระตุ้น ผลักดันมนุษย์ให้ประพฤติ กระทำการต่างๆโดยเล็งเห็นคุณค่าของมนุษย์เป็นจุดสำคัญ เพื่อความยิ่งใหญ่ อิสรภาพของมนุษย์เอง ในหนังสือที่นิตเชนิพนธ์ชื่อว่า ซาราทุสตราตรัสไว้ดังนี้กล่าวว่า  เจตจำนงที่จะมีอำนาจอยู่เบื้องหลังของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย   นิตเช่เองไม่คิดจะสร้างระบบอภิปรัชญาใดๆ ท่านเขียนแบบนักวรรณคดีแทรกความคิดปรัชญา ดังนั้น เจตจำนงที่จะมีอำนาจของท่านควรมองในแง่จิตวิทยามากกว่า คือ เป็นความรู้สึกนึกคิดปกติของมนุษย์ที่จะทำอะไรก็ย่อมทำไปเพราะถูกผลักดันจากเบื้องหลังให้ทะยานไปสู่อำนาจ
- อำนาจ (power) ในความคิดของนิตเช่ใช่อำนาจปกครองกดขี้ผู้อื่น แต่เป็นอำนาจเหนือตนเอง มีอำนาจสร้างสรรค์วิทยาศาสตร์ สังคม ปรัชญา ศิลปะ เป็นการรู้จักควบคุมกิเลส คนไร้กิเลสไม่หวังจะมีอำนาจ แต่ผู้มีกิเลสแก่กล้าและรู้จักควบคุมใช้ในงานสร้างสรรค์  คนนั้นแหละเป็นคนมีอำนาจ เช่น โสคราเตส เผชิญความตายก็ไม่รู้สึกกลัว  แต่เกอเตยังมีอำนาจมากกว่าโสคราเตส เพราะเกอเตไม่ยอมจำนน แต่ทว่าดิ้นรนสร้างงานยิ่งใหญ่ให้แก่มนุษย์ด้านวัฒนธรรม ผู้ที่ทำได้เช่นนี้อย่างสมบูรณ์ คือ อภิมนุษย์  (supreman) การจะถึงขั้นนี้ได้ก็ต้องเดินตามหลักการแห่งศีลธรรมแบบนาย (Master Moratity)  อย่างเคร่งครัด คนเช่นนี้หายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร ส่วนมากเป็นพวกปฏิบัติครึ่ง ๆ กลาง ๆ แต่ก็เป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน ที่จะมุ่งหน้าสู่ความเป็นอภิมนุษย์ โดยพยายามเอาชนะสภาพปัจจุบันของตนเอง เราต้องเป็นผู้สร้างตัวเราขึ้นตลอดเวลา  ออร์เตกา  ชาว สเปน สรุปไว้ว่าเป็นสูตรอย่างกะทัดรัดว่า
                คนวิเศษไม่ใช่คนเห่อยศ ซึ่งคิดว่าตนเหนือผู้อื่น แต่เป็นคนที่เคร่งครัดกับตนเองเหมือนคนอื่น... มนุษย์เราจะแบ่งอย่างแนบเนียนที่สุดออกไปเป็น ๒ ประเภท คือ พวกหนึ่งเคร่งครัดกับตัวเอง ยอมลำบากทุกอย่างในขณะใดก็ดำเนินชีวิตไปตามนัยนั้น ไม่พยายามจะตะเกียวตะกายหาความสมบูรณ์อะไรให้กับตัวเลย ถ้าจะเปรียบแล้วก็เหมือนกับหุ่นที่เคว้งคว้างไปตามเคลื่อนลมและกระแสน้ำ
                - ศีลธรรมแบบนายกับศีลธรรมแบบทาส (Master Morality and Slave Morality) นิตเช่ ตั้งข้อสังเกตว่า ศีลธรรมหรือจริยธรรมเท่าที่มนุษย์เราปฎิบัติกันอยู่ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย พอจะจำแนกได้เป็น ๒ แบบ คือ ศีลธรรมแบบนาย (Master Morlity)  และศีลธรรมแบบทาส (Slave Morality) ผู้ที่เข้มแข็ง มั่นใจในตัวเอง เป็นตัวของตัวเอง ทั้งในความคิดและการปฏิบัติจะเลือกยึดถืออุดมการณ์และปฏิบัติจากการตรึกตรองจนเกิดความชื่อมั่นของตนเองเท่านั้น  คนประเภทนี้จะไม่ยอมเชื่อใครง่าย ๆ อย่างไร้เหตุผล และเมื่อมั่นใจในการตัดสินใจแล้วจะมุมานะลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้  พวกนี้แหละเป็นอัจฉริยบุคคล (ผู้มีความรู้ความสามารถเด่นมากเป็นพิเศษ)  เป็นผู้ทำให้โลกก้าวหน้า เป็นผู้ทำให้มนุษย์ก้าวหน้าไปสู่การเป็นอภิมนุษย์ ศีลธรรมประเภทนี้เรียกว่า ศีลธรรมแบบนายไม่มีหลักการตายตัว ความมุ่งมั่นของแต่ละคน คือ กฎ ศีลธรรมของเขา ส่วนผู้ที่ไม่เข็มแข็งไม่มีความกล้าหาญพอไม่กล้าเป็นตัวของตัวเอง เนื่องจากขาดความมั่นใจในการตัดสินใจเลือกทางของตนเอง จึงมอบหมายตัวเองให้กับหลักการที่ตนเองคาดว่าจะช่วยคุ้มครองหรือให้ความปลอดภัยแก่ตนได้ พวกนี้จะชอบอ้างหลักธรรมที่มีผู้กำหนดไว้แล้วล่วงหน้า หรืออุดมการณ์ที่ยอมรับกันในสังคม ทั้งนี้ เพื่อความสบายใจของตนเอง และเพื่อจูงใจมิให้คนอื่นมาเบียดเบียนตน ศีลธรรมแบบรับถ่ายทอดเช่นนี้ เรียกว่า ศีลธรรมแบบทาส ผู้ถือศีลธรรมแบบนี้ไม่คิดว่าจะเป็นตัวของตัวเอง ไม่คิดค้นหาหลักการของตนเอง แม้หลักธรรมที่รับมายึดถือนั้นก็จะไม่คิดหาเหตุผลว่ายังเหมาะสมดีหรือไม่ หรือถ้าจะหาเหตุผล ก็ต้องตั้งใจหาเหตุผลในทางสนับสนุนเท่านั้น ในขณะเดียวกันก็กลัวว่าจะพบข้อบกพร่องแล้วจะทำให้ไม่สบายใจ
                 นิตเช่เชื่อว่า ชาวกรีกโบราณได้บรรลุถึงศีลธรรมแบบนายแล้ว แต่คริสต์ศาสนาทำให้ชาวยุโรปยุคกลางถอยกลับไปสู่ศีลธรรมแบบทาสอีก และยังติดพันมาจนถึงสมัยของท่าน ท่านจึงเรียกร้องและชักชวนให้ทำการผ่าตัดขนาดใหญ่ เพื่อเปิดทางนำไปสู่การเป็นอภิมนุษย์
                การแยกศีลธรรมของนิตเช่ดังกล่าวมาข้างต้นนี้ จะเป็นแนวทางให้นักอัตถิภาวนิยมแบ่งอัตถิภาวะออกเป็น ๒ ประเภท ต่อมาคือ อัตถิภาวะแท้  (Authentic Existence) และอัตถิภาวะเทียม (Inauthentic Existence)
- แนวคิดเรื่องนิจวัฏ (Eternal Recurrenec) นิตเช่เชื่อว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มมีหมอกเพลิงจนสิ้นโลกจะเกิดซ้ำตามลำดับเดิมเรื่อยไปอย่างไม่มีสิ้นสุด เช่น ทุกครั้งที่เกิดโลกขึ้นมาใหม่ในทุก ๆ กัลป์ นายนิตเช่จะเกิดในปี ค ศ. ๑๘๔๔ ทุกครั้งไป และจะมีแนวทางชีวิตตามที่เป็นจริงอย่างที่เป็นอยู่นี้ทุกครั้งไป และนิตเช่ก็จะเป็นนักปรัชญาที่แถลงความจริงเช่นนี้ทุกครั้งไป เหตุผลก็คือว่า ในจักรวาลทั้งหมดมีปริมาณพลัง (power Quanta) ตายตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลง พลังเดิมย่อมออกฤทธิ์ไปอย่างเดิมโดยไมเปลี่ยนแปลง เมื่อสิ้นฤทธิ์ครั้งหนึ่ง ๆ แล้ว ก็จะต้องเริ่มต้นใหม่เรื่อยไปไม่รู้จบ นิตเช่อ้างว่าคนโบราณเช่นพวกกรีก ก็เชื่อเช่นนี้ จึงน่าจะเป็นสมมติฐานที่น่าเชื่อถือ เกอเตเองก็กำหนดให้เปาสต์พูดว่า หยุดก่อนเถอะหนาเวลาจ๋า แม้นเธอหยุดไม่ได้ ก็ขอให้กลับมาใหม่เช่นนี้เรื่อยไปชั่วนิรันดร์
                -  ศาสนา นิตเช่ โจมตีทุกศาสนาว่าขัดต่อเหตุผล พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของความสิ้นหวัง ศาสนาฮินดูก็ผิดมนุษยธรรม คริสต์ศาสนายิ่งร้ายที่สุด พระเยซูเป็นคนดีและมีโรคประสาท ความกระตือรือร้นจากโรคประสาทกำเริบทำให้พูดอะไรผิดมนุษย์ธรรมดา สานุศิษย์โง่เขลา และกระตือรือร้น หัวรุนแรง เอาไปปั้นเรื่องขึ้นใหม่ บังเอิญถูกใจคนสมัยนั้น เรื่องจึงเรื้อรังเรื่อยมา
                นักอัตถิภาวนิยมส่วนมากเห็นว่า นิตเช่กล่าวโจมตีศาสนาด้วยอารมณ์มากเกินไป ความจริงนั้น นิตเช่ไม่พอใจคำสอนของศาสนาต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้คนเรายึดถือตามแนวของศีลธรรมแบบทาสได้ง่าย และแต่เดิมมาผู้รับผิดชอบในศาสนาต่าง ๆ ก็ไม่สู้จะได้คำนึงถึงเรื่องนี้ ครั้นถูกนิตเช่โจมตีในแง่นี้เข้า จึงสำนึกได้ว่า ความจริงศาสนาต่าง ๆ ล้วนแต่เดินตามศีลธรรมแบบนายทั้งสิ้น ซึ่งเรื่องนี้นิตเช่เองก็ไม่ได้คำนึงถึง อย่างไรก็ตามจากการวิจารณ์ของนิตเช่นี้เอง มีผลให้ผู้รับผิดชอบในศาสนาต่าง ๆ แก้ไขปรับปรุงวิธีเสนอคำสอน และกำหนดเป้าหมายของศาสนาให้เป็นไปในแนวทางของอัตถิภาวนิยมยิ่งขึ้น
                แนวคิดที่นิตเช่เสนอมาเขาเองก็ไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นปรัชญา แต่แถลงเป็นเพียงสมมติฐานหน้าจะเป็นได้ที่สุดเท่านั้น นิตเช่เองเคยเขียนไว้ว่า เราต้องอาศัยวิทยาศาสตร์สำหรับเข้าถึงความเป็นจริง นิตเช่เห็นว่า ความก้าวหน้าในประวัติศาสตร์มีจุดเด่นที่ตัวบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ไม่ใช่มาจากความเพ้อฝันลม ๆ แล้ง ๆ  วิวัฒนาการของมนุษย์ชาติไม่มีจุดหมาย แต่วิวัฒน์ไปตามตัวบุคคลที่เด่นที่สุดความเจริญไม่ใช่เกิดจากการประนีประนอมของสิ่งขัดแย้ง แต่เกิดจากการเก็บเอาความขัดแย้งนั้นมาสร้างของใหม่ให้เป็นงานส่วนตัว และแสดงความสูงเด่นให้ประจักษ์ พวกเราชาวเยอรมันสองจิตสองใจอยู่ระหว่างการบูชาต่างชาติ และการเป็นตัวของตัวเอง...ดูพวกกรีกซิ เขาไม่รังเลใจเช่นนี้กับวัฒนธรรมตะวันออก... พวกเขาจึงสร้างสรรค์งานของตนเองขึ้นมาได้
                ผู้ที่ไม่เดินตามมติมหาชน ย่อมจะต้องเตรียมตัวเผชิญความยุ่งยาก
                จงเป็นตัวของท่านเอง ท่านไม่ได้เป็นทุกอย่างที่ท่านทำ คิด และอยากอยู่ขณะนี้
                ในหนังสือ The Dawn ของนิตเช่ ชี้ให้เห็นว่า การประพฤติตนของคนเรา อาจจะอธิบายได้ด้วยความรู้เรื่องเจตจำนงที่จะมีอำนาจ เช่นว่า เราพยายามที่จะแข็งขันชิงดีชิงเด่นกับคนที่เรารู้จักตลอดเวลา  ความพยายามที่จะดีเลิศ คือความพยายามเอาชนะคนใกล้เคียง แม้จะชนะโดยไม่ปรากฏก็เอา หรือขอแต่เพียงให้รู้สึกในตัวเองว่าชนะก็ยังดี  ถ้าจะทำบัญชีของความพยายามที่จะเอาชนะกันที่ซ่อนเร้นอยู่ในใจแล้วก็คงจะยืดยาว และนี้แหละที่สร้างประวัติวัฒนธรรมขึ้นมาวัฒนธรรมของมนุษย์ก้าวหน้ามาได้ก็เพราะความพยายามเอาชนะกันและกันของมนุษย์ทั้งหลายที่รวมกันนี้เอง
เจตจำนงที่จะมีอำนาจ  ( Will to power) นิตเช่
            หลักการเจตจำนงที่จะมีอำนาจ (will to power) เป็นหลักการที่สำคัญถือว่า เป็นหัวใจของหลักการอื่นของนิตเช่ เอง หลักศีลธรรมแบบนาย ( master morality) ศีลธรรมแบบทาส (slave morality) และอุดมคติเกี่ยวกับอภิมนุษย์ (Superman) ถ้าปราศจาก will to power  แล้ว หลักการอื่น ๆ ของนิตเช่  ที่กล่าวมาข้างต้นก็ไร้ความหมาย
                นิตเช่ถือว่า เจตจำนงที่จะมีอำนาจคือพื้นฐานแห่งศีลธรรมทั้งหมด นิตเช่เห็นว่า การแสดงถึงความมีอำนาจที่ยอดเยี่ยมที่สุด คือการเอาชนะใจตนเอง การเอาชนะใจตนเองนี้เป็นมาตรฐานที่ชัดเจน   ในทุก ๆ  สังคมที่มีศีลธรรม    ซาราตรุสตรา (Zarathustra คือตัวละครที่นิตเช่แต่งขึ้นเพื่อเป็นปากเสียงแทนตัวเอง) กล่าวว่า การชนะตนเองคือป้ายทองคำที่ติดอยู่กับตัวบุคคล มันคือป้ายที่แสดงถึงชัยชนะของเขาเองนิตเช่ได้ใช้พลังขับเคลื่อนแห่งอำนาจ เพื่อวิจารณ์หลักการทางศีลธรรม นิตเช๋ได้อธิบายเรื่องศีลธรรมโดยการพูดถึงเสรีภาพโดยกล่าวว่า บุคคลมุ่งแสวงหาเสรีภาพเพื่อประโยชน์แห่งการมีอำนาจไม่ใช่เพื่ออันใดอื่นบางคนอาจคิดว่า ปรัชญาของนิตเช่ จะสามารถแปลความหมายเป็นปรัชญาแห่งเสรีภาพนี้อาจไม่เป็นจริงดังนั้น เจตจำนงที่จะมีอำนาจคือความมีพลังเพื่อที่จะดิ้นรน ตะเกียกตะกายต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ เจตจำนงที่จะมีอำนาจเป็นสมมติฐานทางจิตวิทยาทั่วไปที่มุ่งหวังอธิบายพฤติกรรมทุกอย่าง เจตจำนงที่จะมีอำนาจนี้มีหน้าที่สูงส่งเป็นมาตรฐานทางจริยธรรมขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นลากเง่าของทุก ๆ ศีลธรรม
                เจตจำนงที่จะมีอำนาจคือที่สุดของความพยายามของมนุษย์ทุกคน เจตจำนงที่จะมีอำนาจมิใช่แต่เป็นเพียงหลักการทางจิตวิทยาเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวคิดที่เป็นแรงขับขั้นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด นิตเช่กล่าวว่า เจตจำนงที่จะมีอำนาจสามารถแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนที่สุดคือว่า ทุก ๆ สิ่งมีชีวิตกระทำทุก ๆ สิ่ง และมันก็ไม่สามารถจะคงความเป็นตัวมันเอง เช่นเดิมได้ แต่มันสามารถเป็นได้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม  เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งมีชีวิตทุก ๆ สิ่งต้องการที่จะปลดปล่อยพลังงานของมัน ชีวิตเช่นนั้น คือเจตจำนงที่จะมีอำนาจ
                เจตจำนงที่จะมีอำนาจได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นพลังผลักดันของมนุษย์ในระดับที่ถือว่าเป็นรากเหง้า ทุกๆ ศีลธรรมรับเอาเจตจำนงที่จะมีอำนาจเป็นโครงสร้างที่สำคัญของศีลธรรมนั้น ๆ  การยืนยันของนิตเช่ที่ว่า ทุกๆ ศีลธรรมว่ากันให้ถึงรากเหง้าแล้ว เป็นศีลธรรมเพื่อความมีอำนาจเป็นการสนับสนุนหลักการที่ว่า ทุกๆ ความพยายามของมนุษย์เป็นความพยายามเพื่อการมีอำนาจมากขึ้น นิตเช่กล่าวถึงความสุขและเห็นว่าความสุขคือเครื่องบ่งบอกถึงจุดหมายปลายทางอันแท้จริงของมนุษย์ เจตจำนงที่จะมีอำนาจ คือรูปแบบขั้นต้นของความพอใจ ซึ่งความพอใจอย่างอื่นเป็นผลพลอยได้เท่านั้น... ไม่มีความพยายามเพื่อความเพลิดเพลิน แต่ความเพลิดเพลินเข้ามาแทรก เมื่อมนุษย์บรรลุสิ่งที่ตนพยายามความเพลิดเพลินคือสิ่งที่ตามมา ความเพลิดเพลินไม่ใช่จุดประสงค์ที่แท้จริง
                นิตเช่เห็นว่า อำนาจเป็นคำอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ได้ดีกว่าความเพลิดเพลิน ความเพลิดเพลินไม่สามารถอธิบายความทุกข์ของมนุษย์ที่ทับถมตัวเขาเองได้ แต่ว่าปรัชญาแห่งอำนาจสามารถอธิบายความทุกข์ได้สะดวกกว่า เมื่อเกี่ยวกับแนวคิดแห่งความสมบูรณ์ในตัวเองและการชนะตัวเองมันไม่มีความหมายอะไรที่จะแสดงว่าผู้ที่ทนทุกข์ทรมานเพื่อผู้อื่น เอาตัวเองบูชายัญเพื่อความเพลิดเพลินบางอย่าง มันเป็นการดีกว่า ถ้าว่าพวกเขายอมทรมานตนเองเพื่อความสุขของคนอื่น พยายามที่จะพิสูจน์อำนาจของตนเอง เพื่อพิสูจน์ความอดทน ความคงทน ความมีธรรมในตนเอง จุดสำคัญที่ควรตระหนักในที่นี้ก็คือว่า นิตเช่ไม่ได้ต้องการเพียงแต่จะจรรโลงสรรสร้างศีลธรรมบนหลักการทางจิตวิทยาแห่งเจตจำนงที่จะมีอำนาจ นิตเช่ยืนยันว่า ทุกๆ ศีลธรรมยอมรับหลักการแห่งอำนาจอย่างชัดเจน และแม้ว่านิตเช่จะกล่าวเช่นนั้น เขาก็ยังกล่าวอีกว่า บุคคลสามารถยอมรับเจตจำนงที่จะมีอำนาจแล้วยกเลิกระบบศีลธรรมเดิมได้
                นิตเช่เห็นว่า อำนาจมีการสืบทอดจากน้อยไปหามาก แต่ละสิ่งก็มีอำนาจแตกต่างกันในระดับความเข้มข้น สัตว์มีอำนาจมากกว่าพืช พืชมีอำนาจมากกว่าสิ่งไม่มีชีวิต แต่มนุษย์มีอำนาจเหนือสิ่งเหล่านี้ และในระหว่างมนุษย์ก็มีความเข้มข้นของอำนาจที่แตกต่างกัน นักปรัชญา นักศีลปิน มีอำนาจมากกว่าคนทั่วไป แต่นักบุญมีอำนาจมากกว่า เพราะนักบุญมีอำนาจจิตที่เข้มข้นสามารถควบคุมตนเองได้ดีกว่าทุก ๆ คน นิตเช่นิยมในปัจเจกชน เขายกย่องบุคคลผู้มีอำนาจจิตสูง ไม่ใช่เพราะนับถือพระเจ้า ผู้ใดปรับปรุงตนเองให้สูงขึ้นผู้นั้นย่อมมีอำนาจ นิตเช่ยกย่องผู้มีอำนาจ เช่น พระพุทธเจ้า พระเยซู นโปเลียน เป็นต้น  นิตเช่สอนหลักการแห่งการมีอำนาจโดยอาศัยเหตุผลเป็นเครื่องนำทางเพราะว่าเราใช้เหตุผลเป็นเครื่องสั่งสมอำนาจ
                สำหรับนิตเช่ จุดมุ่งหมายอันสูงสุด คือ การมีอำนาจ ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ทุกคนก็ปรารถนาอำนาจกันโดยธรรมชาติ และนี้ถือว่าเป็นหน้าที่ที่ควรทำแต่คนที่มีอำนาจสูงสุด ต้องมีอิสรภาพอย่างเต็มที เป็นคนมีเหตุผลและเป็นคนไม่ยอมนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือศาสนาใด ๆ และลัทธิประเพณี ถ้าจะนับถือก็ต้องตรวจสอบและมีเหตุผล เขาเป็นคนชอบแสวงหาเหตุผล และสามารถควบคุมอารมณ์อ่อนแอได้อย่างเคร่งครัด ตัวเขาเป็นผู้สร้างกฎเกณฑ์และอุดมคติ และคนเช่นนี้ก็คือ อภิมนุษย์ (superman) ในอุดมคติของนิตเช่นั่นเอง
                อำนาจที่นิตเช่หมายถึง คือ อำนาจฝ่ายสูง ซึ่งเป็นอำนาจในทางสร้างสรรค์ ใช้อำนาจแบบมีคุณธรรม มีเหตุผล ยึดความสามารถของบุคคลเป็นหลัก ไม่กดขี่ข่มเหงคนด้อยกว่า เป็นบุคคลตัวอย่างแห่งคุณความดี เป็นผู้บุกเบิก เป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ กล้ารับผิดชอบ

                ศีลธรรมแบบนาย (master morality) กับ ศีลธรรมแบบทาส[1] (slave marality)
                นิตเช่เห็นว่า มาตรฐานของระบบศีลธรรมทุกๆ ระบบคือเจตจำนงที่จะมีอำนาจ (will power) เขามองว่าระบบศีลธรรมในอดีตยังไม่เพียงพอที่จะส่งผลต่อการกระทำของมนุษย์ ดังนั้น นิตเช่ได้เสนอระบบศีลธรรม ๒ ประเภท คือ ศีลธรรมแบบนาย และศีลธรรมแบบทาส ทั้งสองประเภทนี้แสดงถึงความมีอำนาจเหมือนกัน แต่เจตจำนงที่จะมีอำนาจนั้น นิเช่ได้อธิบายไว้แตกต่างกัน ศีลธรรมแบบนายย่อมรับเจตจำนงที่จะมีอำนาจอย่างชัดเจน แต่ศีลธรรมแบบทาสปฏิเสธเจตจำนงที่จะมีอำนาจอย่างชัดเจน นิตเช่ได้จัดศีลธรรมแบบคริสต์ศาสนาเป็นศีลธรรมแบบทาส สิ่งที่ควรทำความเข้าใจ ณ ตรงนี้ก็คือว่า นิตเช่ไม่ได้จัดระบบวรรณะหรือชนชั้นนายกับทาสทางสังคมและเขาจัดโดยคุณค่าศีลธรรมที่บุคคลปฏิบัติเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มนุษย์เป็น นิตเช่ไม่ได้หมายถึงนายและทาสตามตัวอักษร ศีลธรรมแบบทาสมักถูกพบเสมอในคนที่คนไม่ใช่ทาสเลยก็ได้ การยอมรับอย่างเปิดเผย ซึ่งเจตจำนงที่จะมีอำนาจเป็นคุณค่าที่สมบูรณ์ที่ถูกค้นพบในระบบศีลธรรมที่มีมาก่อน ศีลธรรมแบบทาสมีขึ้นเพื่อขัดแย้งกับศีลธรรมแบบนายที่มีมาก่อน นิตเช่เห็นว่า นายเป็นผู้ตัดสินคุณค่า คุณค่าของนายเป็นเครื่องแสดงเจตจำนงที่จะมีอำนาจ แต่มันก็ปรับไปตามความแตกต่างระหว่างบุคคล มันอาจจะแปลผันไปได้โดยไม่มีข้อกำหนดบุคคลอาจเลือกที่จะเป็นผู้มีความรักอันยิ่งใหญ่ เลือกเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ หรือเป็นนักกวีผู้ยิ่งใหญ่ ความเป็นตัวคนที่แท้จริงของศีลธรรมแบบนายไม่มีความเย่อหยิ่งถือตัวจัด หรือการเห็นแต่ประโยชน์ตน การอุทิศต่อหลักการและเหตุผล (กฎแห่งกรรม) ซึ่งเป็นหลักอันยิ่งใหญ่ เป็นศูนย์กลางอันสำคัญของแนวคิดเกี่ยวกับศีลธรรมแบบนายแต่ว่าจุดหมายที่นายเลือกเป็นสิ่งที่อยู่เหนือข้อผูกมัดใดๆ นิตเช่มองว่า จุดหมายที่ตนตั้งไว้นั้น เป็นสิ่งสูงส่งและเป็นหัวใจอันสำคัญอย่างเช่นคุณค่าของนักปรัชญา นักบวช ศิลปิน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่การเห็นแก่ตัวในความหมายที่แท้จริงเลย คุณค่าซึ่งเป็นสิ่งถูกสมมติขึ้นด้วยตนเองในกรณีของคนเหล่านี้ต้องการหลักหรือกฎเกณฑ์ซึ่งแตกต่างกันมากจากคุณค่าของความเห็นแก่ตัวของแต่ละคน
                นิตเช่มีแนวคิดในการค้นหาแต่สุดยอดของมนุษย์ ดังนั้นเขาจึงแยกคุณค่าของคนแต่ละคนในระดับแตกต่างกัน และดังนั้นจึงมีความแตกต่างกันของความเห็นแก่ตนของบุคคลแต่ละระดับ นิตเช่ให้ความสำคัญต่อตัวตนในการพัฒนาตนเองถึงจุดสูงสุด ดังนั้น จึงเห็นว่าแต่ละตัวตน (ego) ก็เห็นแก่ตัวในอันมุ่งหวังที่จะมีอำนาจ นิตเช่เห็นว่า ทั้งการรู้จักควบคุมตนเองและการทนงตนเป็นสิ่งสำคัญในการนำไปสู่อำนาจ สำหรับนายความชั่วร้ายคือความพ่ายแพ้ขี้ขลาดไม่กล้าตัดสินใจ ความเกียจคร้าน ความไร้สมรรถภาพและการสูญเสียอำนาจ
                ในอุดมคติเกี่ยวกับศีลธรรมแบบนาย เจตจำนงที่จะมีอำนาจ (will to power)  คือ เจตจำนงที่จะมีความสมบูรณ์ในตนเองและเพื่อความดี  ถึงแม้ว่าหลาย ๆ คนอาจจะไม่เห็นว่าอำนาจก็เป็นส่วนรวมในการก่อให้เกิดความสมบูรณ์ การ กระทำที่ไม่นำไปสู่ความสำเร็จ คือการกระทำที่เลว และการกระทำที่ทำให้สูญอำนาจก็ถือว่าเลว
                ความแตกต่างระดับศีลธรรมแบบนายกับแบบทาส คือว่า นายสร้างสรรค์คุณค่าในตนเอง โดยเจตจำนงที่จะมีอำนาจของเขา แต่ทาสไม่ได้สร้างคุณค่าในตนเอง ทาสเริ่มต้นจัดระดับคุณค่าซึ่งบุคคลอื่นมอบให้เขา แต่มันก็เป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะมีคุณค่าความดีจากการมีคุณค่าซึ่งคนอื่นมอบให้ ความจริงศีลธรรมแบบนายเรียกร้องให้เขา (ทาส) แข็งแกร่ง แต่ว่าโดยธรรมชาติเขาเป็นคนอ่อนแอ เรียกร้องให้เขากล้าหาญ แต่เขาขลาด  ธรรมชาติเรียกร้องให้เขาสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง แต่เขาก็ไม่เป็น เพราะเขาไม่รู้ว่าจะเป็นเช่นนั้นได้อย่างไร ทาสพบว่าเขาเองได้ตกหล่นไปจากบทบาทในประวัติศาสตร์ของตนเอง เขาไม่อาจจะได้มาซึ่งคุณธรรมแบบนาย ดังนั้นเขารับเอาแต่สิ่งตามที่สังเกตเห็นเพื่อยืนยันเจตจำนงของตนเองที่จะมีอำนาจในท้ายที่สุดของความพ่ายแพ้แก่ตัวของเขาเอง เขา (ทาส) พลาดในการพิสูจน์ว่าตนเองเป็นคนแข็งแกร่ง เขาเห็นว่าความแข็งแกร่งเป็นความชั่วร้ายและเขาก็รู้สึกสุขใจที่เขาไม่ได้ถูกล่อด้วยความแข็งแกร่ง ดังเช่นที่กล่าวไว้ในคำภีร์ไบเบิลว่า ความว่าง่ายจะสืบต่อโลกทาสมักจะพอใจในความจนของตนเอง และเห็นว่าความมั่งคั่งเป็นความชั่วร้าย พวกทาสเห็นว่าสิ่งเหล่านี้คือรากเหง้าของความชั่วร้ายทั้งหลาย บุคคลจะต้องรื้อถอนมันทิ้งเสีย ทาสมองว่าสิ่งที่ถือว่าเป็นคุณธรรมแบบนายเป็นความชั่วร้าย การเอารัดเอาเปรียบ ดังนั้น เขาก็พบว่าตัวเขาเองปราศจากความทนงตนและรู้สึกว่าไม่มีอะไรพอที่โอ้อวดเขาได้ เขา (ทาส) ไม่มีความมุ่งหวังหรือการแข่งขันใด ๆ เขายอมรับแต่ความถ่อมตน ความสงบเสงี่ยม ความอดทน และความละเว้นการกระทำแบบเสี่ยง ๆ ต่อความทุกข์หรือความลำบาก เขาคิดว่าเขาต่อสู้กับสิ่งยั่วยวนได้ และเขาก็ไม่ได้มองเห็นตนเองว่าจะเป็นผู้พ่ายแพ้ใดเลย และแล้วเขาก็ประจักษ์ว่าไม่สามารถชนะการต่อสู้และก็จะถูกทำให้พ่ายแพ้ เหตุนั้น ทาสไม่อาจกระทำการอันยิ่งใหญ่ได้ เขาจึงเป็นคนดีทั่วๆไปคนหนึ่งเท่านั้น
                ทาสกำหนดศีลธรรมตนเองโดยการไม่เชิดชูเจตจำนงที่จะมีอำนาจทั้งที่มันก็แฝงในตัวเขาเอง และเขาก็ปฏิเสธคุณค่าของสิ่งเหล่านี้
                ศีลธรรมทั้ง ๒ ประเภทนี้ มีความคล้ายกันบ้าง คือ แสดงถึงเจตจำนงที่จะมีอำนาจ ศีลธรรมแบบทาสสามารถมีอำนาจโดยการปฏิเสธเจตจำนงที่จะมีอำนาจ ศีลธรรมแบบทาสมองว่า อำนาจ  ความทะนงตน ความแข็งแกร่งเป็นสิ่งที่ควรละเว้น นิตเช่มองว่า ชีวิตชาวคริสต์ระดับกลางเป็นชีวิตอยู่ไปเรื่อยๆ แบบวันๆ ว่าเป็นแบบทาส ไม่มีความกระตือรือร้น ไม่มีความสามารถจะกระทำการอันยิ่งใหญ่ส่วนตนได้ ความดีสำหรับแนวคิดแบบทาส คือละเว้นทุกอย่างที่กระทำโดยแนวคิดแบบนาย ทาสต้องการความรู้สึกว่าตนเองปลอดภัย ดังนั้นพวกทาสจึงสั่งสมคุณค่าที่คิดว่าจะทำให้เขาปลอดภัย และได้รับการคุ้มครอง คุณธรรมที่เขาปฏิบัติ คือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเกื้อกูล การแบ่งปัน ความเมตตา เป็นต้น
                ปรัชญาของนิตเช่เกี่ยวกับอุดมคติอภิมนุษย์ (superman) เป็นการพยายามที่จะสงวนรักษาอุดมคติแห่งศีลธรรมแบบนาย นิตเช่ได้พยายามตีค่านิยมแบบใหม่ให้มนุษย์เชื่อมั่นในตนเอง นำศักยภาพ[2]ในตนเองออกมาใช้เพื่อความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ มนุษย์ควรเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ กล้าเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ โดยไม่สะทกสะท้าน กรุงโรมและประเทศกรีกมีความเจริญรุ่งเรืองมาในอดีตก็เพราะอาศัยอุดมการของตนเอง และประสบความหายนะก็เพราะผลอุดมการแห่งศาสนาคริสต์ มนุษย์ควรเป็นตัวของตัวเองให้ถึงที่สุด ควรปลดเปลื้องตนเองจากพันธนาการต่างๆ เช่น ศาสนา ลัทธิ และแนวคิดต่างๆ ที่ชักนำและทำให้เป็นทาส โดยที่ไม่สามารถทำให้เราพัฒนาตนเองจนถึงขั้นอุดมคติอันสูงส่ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน โดยการมีศีลธรรมแบบนาย (superman)

Superman (อภิมนุษย์)
                นิตเช่กล่าวว่า superman คือสุดยอดแห่งการรวมกันของเจตจำนงที่จะมีอำนาจ (will to power) แนวคิดเกี่ยวกับอภิมนุษย์นี้เป็นความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ว่ามนุษย์เกิดขึ้นมาเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคให้รอดพ้น และเพื่อเอาชนะความทุกข์ อภิมนุษย์ คือ มนุษย์ที่เหนือมนุษย์ทั่วไป มีชีวิตอยู่เพื่อนำมนุษย์คนอื่นๆ ให้เข้าถึงธรรมชาติที่แท้จริงของตนเอง นิตเช่กล่าวถึงการกลายเป็นอภิมนุษย์ว่า เมื่อสภาวะธรรม (Being) อย่างหนึ่งปรากฏแก่มนุษย์ เขาคนเดิมกลับมาเกิดซ้ำอีกในหลายภพหลายชาติมีความปรารถนาเกิดมาเพื่อแก้ตัวให้มีจิตวิญญาณที่สูงขึ้น นั่นคืออภิมนุษย์ นิตเช่กล่าวถึงการกลับชาติมาเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกทุกๆ กัลป์ หลักเชื่อข้อนี้บวกกับแนวคิดอภิมนุษย์เป็นของคู่กันในสังสารวัฏ(การเวียนวายตายเกิด)  เจตจำนงที่จะมีอำนาจเป็นเจตจำนงที่เป็นอมตะเป็นสิ่งสูงสุดในบรรดาเจตจำนงต่างๆ เป็นสิ่งที่เป็นอมตะในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
                นิตเช่กล่าวว่า มนุษย์อยู่ระหว่างความชั่วร้ายและอภิมนุษย์ จักต้องพัฒนาตน ห่างไกลความชั่วร้าย ก้าวล่วงพ้นนรกอเวจีจนเข้าถึงความเป็นอภิมนุษย์ อภิมนุษย์คือการกลับมาของศีลธรรมแบบนาย นั่นคือ การค้นหาอย่างสุดแรงกล้าซึ่งความสมบูรณ์แบบของตนเอง (self) โดยปราศจากการบังคับโดยศาสนาหรือศีลธรรมตามประเพณี
                คำว่า อภิ ( super) เป็นคำมีความหมายซับซ้อน มันเกี่ยวข้องกับ การก้าวข้ามตัวตน (self) “ อภิมนุษย์ คือ มนุษย์ผู้ซึ่งข้ามพ้นตัวตนของเขาเอง ควบคุมตนเองไม่ให้ทำชั่ว ไม่ให้ทำลายล้างคนอื่น นอกจากทำลายล้างตัวตนของตนเอง โดยทั่วไป ความปรารถนาประสามนุษย์ต้องการทำชีวิตให้มีความสุขสะดวกสบายและปลอดภัยมากกว่าจะเป็นคนเจ้าคิด เป็นนักสร้างสรรค์ นักประดิษฐ์ เป็นคนมีเหตุผลพินิจพิเคราะห์ อภิมนุษย์ไม่ใช่ผู้ไผ่สงคราม ดังเช่นที่คิดเอาเองว่า อภิมนุษย์คือคนบ้าสงคราม แต่อภิมนุษย์คือมนุษย์ผู้ประสบผลสำเร็จในการควบคุมสัญชาตญาณดิบ เป็นผู้มีเหตุผล
                อัตถิภาวะระดับสุนทรีย (คีร์เคกอร์ด) ได้มีบทบาทสำคัญในแนวคิดของนิตเช่เกี่ยวกับอภิมนุษย์ ชีวิตของอภิมนุษย์เป็นงานแห่งศิลปะ รูปแบบของการมีชีวิตอยู่สำคัญมากกว่าตัวบุคคล ความแข็งแกร่งแห่งจิตใจเหนือคนอื่นๆ คือ การมีอำนาจหรือเป็นนายของตนเอง เป็นความสุดยอดประเสริฐกว่าการมีอำนาจเหนือคนอื่น นิตเช่กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ค้นพบความแข็งแกร่งในที่ที่ใครมองไม่เห็น คือ ในคนธรรมดาที่อ่อนโยน และร่าเริง ปราศจากตัณหา อุปทาน ไม่มีความปรารถนาจะปกครองครอบงำสิ่งใดๆ และในทางตรงกันข้าม ความประสงค์ที่จะครอบงำหรือปกครองผู้อื่นได้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าว่าเป็นสัญลักษณ์ของคนอ่อนแอภายใน ตามแนวความคิดนิตเช่ นักปรัชญาคือตัวอย่างอย่างสมบูรณ์ที่สุดแห่งมนุษย์ทั้งหลาย นิตเช่ย้ำว่า นักปรัชญา นักพรต เหล่านี้เป็นมนุษย์ที่แท้จริง นิตเช่กล่าวว่า ณ บัดนี้ยังไม่มีอภิมนุษย์เลย  ข้าพเจ้าเคยเห็นมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด และต่ำต้อยที่สุด อย่างไรก็ดี พวกเขาเหล่านี้ก็เป็นมนุษย์ประสามนุษย์ (ยังไม่ใช่อภิมนุษย์ตามแนวคิดของนิตเช่)
                อัตถิภาวะระดับสุนทรียะ (ที่แบ่งโดยคีร์เคกอร์ดว่าเป็นขั้นต่ำ แต่นิตเช่ให้ความสำคัญต่อระดับนี้มาก) ได้มีบทบาทสำคัญต่อแนวคิดของนิตเช่เกี่ยวกับอภิมนุษย์ ชีวิตของอภิมนุษย์เป็นงานแห่งศิลปะ รูแบบของการดำรงชีวิตอยู่มีความสำคัญมากกว่าตัวบุคคลเอง นิตเช่ว่าโดยขั้นอุกฤษแล้วก็ให้คุณค่าแก่เจตจำนงที่จะมีอำนาจ คือ มีอำนาจเหนือตนเอง เป็นสิ่งที่สุดยอด เป็นคุณสมบัติของอภิมนุษย์ เป็นอำนาจพิเศษเหนือกว่ายอดกว่า อำนาจเหนือคนอื่นๆ นิตเช่กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ค้นพบความแข็งแกร่ง ความมีอำนาจ ในที่ที่ผู้อื่นไม่เห็น คือ ในคนธรรมดา คนอ่อนโยน ปราศจากกิเลส ตัณหา ความทะยานอยากที่จะปกครองบัญชาการผู้อื่น แต่ในทางกลับกัน ความทะยานอยากที่จะปกครองครอบงำคนอื่นได้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนแอภายใน
                ดังนั้น ถ้าพิจารณาหลักการของอภิมนุษย์ข้างบนนี้ การยกตัวอย่างนโปเลียน หรือนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ ก็ไม่เหมาะสมกับความหมายแท้จริงของอภิมนุษย์ แต่ในทางตรงกันข้าม การยกตัวอย่างของ Socrates (โสคราตีส) ดูจะเหมาะกว่า นิตเช่ก็ได้ยกย่องการดำเนินชีวิตของนักพรต นักบวชทั้งหลาย และเท่าที่สังเกตพิจารณาความหมายของอภิมนุษย์ตามที่นิตเช่พูดก็ไม่น่าจะห่างไกลไปจากนี้ นิตเช่สรรเสริญนักปรัชญา นักบวช ศิลปิน และผู้เข้าถึงศาสนาอย่างแท้จริง
                นิตเช่เห็นว่า นักปรัชญาคือตัวอย่างที่สูงสุดของมนุษย์ นักปรัชญาและนักบวช เป็นมนุษย์ที่แท้จริง ( true human being) นิตเช่ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่ตัวปัจเจกชนอย่างคีร์เคกอร์ด ซึ่งจะเป็นการจัดการตัวบุคคลให้เป็นหนึ่งมากที่สุด การที่ยกนักบวช นักพรต เป็นตัวอย่างของอภิมนุษย์ก็มีความมุ่งหมายเพื่อจะให้เห็นความไม่สำคัญของการใช้อำนาจเหนือบุคคลอื่นซึ่งเกี่ยวเนื่องไปถึงการควบคุมตนเอง
                บนโลกนี้ มนุษย์เกิดมาเพื่อฟันฝ่าอุปสรรค ปัญหาต่างๆ ความทุกข์ยากแสนสาหัส และความรู้สึกว่าตนเองดำเนินชีวิตผิดเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นที่สำคัญสำหรับการเป็นอภิมนุษย์
                บางท่านอาจจะคิดไปว่า นิตเช่ มีแนวความคิดที่ก้าวร้าวรุนแรง เพราะเขาสอนให้คนเป็นผู้นำ เชื่อมั่นตนเอง แข็งแกร่ง ไม่สนใจต่อคำสรรเสริญ มุ่งมั่นในการทำกิจการที่ตั้งจุดหมายไว้ให้สำเร็จ สิ่งที่ชวนให้คิดว่านิตเช่เป็นคนสอนให้คนก้าวร้าวก็อาจเป็นคำสอนเรื่องเจตจำนงที่จะมีอำนาจ แต่เมื่อเราศึกษาให้ดีๆ แล้วเราพบว่า อำนาจที่นิตเช่สรรเสริญมากที่สุด คือ อำนาจแห่งการควบคุมตนเอง ควบคุมจิตใจตนเองไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจฝ่ายต่ำ และข้อนี้ก็สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องอภิมนุษย์ อภิมนุษย์คือผู้ที่สั่งสมบารมีมาหลายภพหลายชาติ เป็นผู้สามารถควบคุมจิตใจตนเองได้ อยู่เหนือความชั่วร้าย ปราศจากอคติ มีเหตุผล และนิตเช่ก็ได้ยกตัวอย่างของอภิมนุษย์ เช่น นักปรัชญา นักบวช ศิลปิน ว่าเป็นตัวอย่างของอภิมนุษย์ตามแนวคิดของนิตเช่ คนเหล่านี้ ถ้ามองภายนอกดูอ่อนโยน และอาจดูมองว่าอ่อนแอ แต่ความจริงแล้วเขาเหล่านี้มีจิตใจที่เข็มแข็งโดยการควบคุมตนเอง เอาชนะใจตนเอง ชัยชนะอันประเสริฐก็คือ ชัยชนะเหนือความใฝ่ต่ำของตนเอง ชัยชนะเหนือคนอื่นเป็นการก่อภัยให้ตนเอง และให้คนอื่นเป็นทุกข์ สร้างพยาบาทให้เขา แต่ชัยชนะเหนือความไฝ่ต่ำของตนเองนี้เป็นชัยชนะที่มีประโยชน์แก่ตนเองและสังคมมากที่สุด
                เจตจำนงที่จะมีอำนาจ (will to power) คือพลังผลักดันให้มนุษย์พัฒนาตนเองก้าวไปสู่ความเจริญข้างหน้า เพราะมนุษย์ไม่อาจย่ำอยู่กับที่ได้  การกระทำทุกอย่างก็เพราะเจตจำนงที่จะมีอำนาจ อำนาจฝ่ายต่ำคืออำนาจที่จะครอบครอง แต่อำนาจฝ่ายสูงอำนาจที่จะละ คือไม่ยึดมั่นถือมั่น

สรุปใจความสำคัญศีลธรรมแบบนาย (master morality)
                - ใช้เจตจำนงที่จะมีอำนาจอย่างเต็มที่
                - จุดหมายของปรัชญา คือ การเป็นอภิมนุษย์ (superman) นักปรัชญา ศิลปิน นักบวช พระอรหันต์ (ในพุทธศาสนา)
                - บุคคลมีเสรีภาพที่จะใช้เจตจำนงที่จะมีอำนาจเพื่อเป็นอะไรๆ ตามความมุ่งหมายของตนเอง
                - เป็นตัวของตัวเองสูง คิด ทำ สร้างสรรค์ด้วยตนเอง
- มีภาวะแห่งความเป็นผู้นำสูง
- ไม่โอนเอนไปตามคำติชม
                - มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีความรู้สึกว่าอบอุ่นไม่เว้าเห่วต้องหาที่พึ่งเพื่อความปลอดภัย
                -ไม่เกียจคร้าน อ่อนแอ ขี้ขลาด ลังเล
                - สร้างวีรบุรุษ สร้างประวัติศาสตร์ของตนเองในประวัติศาสตร์โลก
                - คนที่ยึดศีลธรรมแบบนายก็มีความเห็นแก่ตัว คือ เห็นแก่ตัวในทางที่จะพัฒนาตนเองสู่ภาวะอภิมนุษย์ จึงเน้นตัวเองเป็นหลักก่อน
                -  การยึดมั่นในศีลธรรมแบบนายก็เพื่อความมีเจตจำนงที่จะมีอำนาจ คือการเป็น superman ถือเป็นเป้าหมายสูงสุด
                - เป็นหลักสำคัญในศีลธรรมทั้ง ๒ ระบบ แต่ต่างกันในระดับเข็มข้น
                - เป็นพื้นฐานแห่งศีลธรรมทุกระบบคือ แบบนาย-ก็มีมาก แบบทาส-ก็มีน้อย
                - คืออำนาจที่จะชนะใจตนเอง ไม่ใช่อำนาจเพื่อทำลาย กดขี่ข่มเหงคนอื่น
                - อำนาจคือจุดหมายของการประพฤติศีลธรรม
                - เป็นเป้าหมายสุดท้ายของความพยายามของมนุษย์ คือ ประพฤติศีลธรรมเพื่อมีอำนาจ
                - เป็นหลักการพัฒนาตนเองอย่างมีหยุดหย่อนจนถึงการเป็นอภิมนุษย์
                - เจตจำนงที่จะมีอำนาจนี้คือรูปแบบแห่งความพอใจ เป็นความสุขในตัวเอง ผลที่ตามมาอย่างอื่นคือความเป็นผลพลอยได้
                -  คนที่พยายามดิ้นรนต่อสู่เพื่อคนอื่น แท้ที่จริงก็เพื่อมีอำนาจของตนเอง ไม่ใช่นำไปเพื่อความเพลิดเพลิน
                - ทุกๆ ชีวิตมีอำนาจ สัตว์มีอำนาจแต่มีน้อยกว่ามนุษย์ และในระหว่างมนุษย์ด้วยกันแต่ละคนก็มีอำนาจ
                - ในระดับที่ต่างกัน นิตเช่เห็นว่า นักบวช มีอำนาจมากที่สุด
                - มีอิสรภาพ มีเหตุผลเป็นที่พึงของคนอื่นได้
คำถาม
            ข้อ . จงแสดงความหมายของประโยคที่ว่า ศีลธรรมแบบทาส มักถูกค้นพบในคนที่ไม่ใช่ทาษ
                ข้อ ๒. จงอธิบายความเห็นแก่ตัวของนักบวชและนักปกครองมีความแตกต่างกันอย่างไร


[1]      ทาส : . ผู้อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น ทาสความรู้, ผุ้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอำนาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ทาสการพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน ; บ่าวทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่าทาสน้ำเงิน ผู้ที่เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย .. พจนานุกรมฯ หน้า ๓๙๘.
[2]      ศักยภาพ (ปรัชญา) . ภาวะแฝง, อำนาจหรือคุณสมบัติที่มีแฝงอยู่ในสิ่งต่างๆ อาจทำให้พัฒนาหรือให้ปรากฏเป็นสิ่งประจักษ์ได้. พจนานุกรมฯ หน้า ๗๖๘

ปรัชญาของ MARTIN HEIDEGGER

ปรัชญาของ MARTIN HEIDEGGER

            ไฮเดกเกอร์ ๑๘๘๙ ชาวเยอรมัน     รวบรวมเรียบเรียงโดย ดร สมบูรณ์ วัฒนะ

          ไฮเดกเกอร์ ต่อต้านแนวคิดที่พยายามจะจัดท่านไว้ในระบบปรัชญาใดปรัชญาหนึ่ง ท่านปฏิเสธว่าท่านไม่ใช่นักปรัชญาอัตถิภาวนิยม แต่ในความเป็นจริงแล้วท่านก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การวิเคราะห์อัตถิภาวะของมนุษย์ (Human existence) ของท่านนั้น  เป็นการริเริ่มขบวนการอัตถิภาวนิยมในช่วงศตวรรษที่ ๒๐ ท่านได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจาก ฮุสเซิร์ล (Husserl)  เฮเกล (Hegel) ค้านท์ (Kant) และ คีร์เคกอร์ด ( KieKergard) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ท่านได้ยืมแนวคิดของท่านเหล่านั้นมาดัดแปลงเป็นปรัชญาของตน ในทางกลับกันก็ยังมีความแตกต่างในหลายด้านระหว่างท่านไฮเดกเกอร์และนักปรัชญาเหล่านั้น ที่น่าสนใจและสำคัญ คือ ไฮเดกเกอร์ยอมรับวิธีการแห่งปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology[1] = ปรากฏการณ์วิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ตามแนวคิดของฮุสเซิร์ล หมายถึง วิธีการทางปรัชญา ซึ่งบรรยายปรากฏการณ์ตามความรู้โดยตรงที่ได้จากปรากฏการนั้น)  ของฮุสเซิร์ล แต่ท่าน ไฮเดกเกอร์ก็ได้แปลความหมายในทางที่ว่ามันมีประโยชน์ต่ออัตถิภาวะของมนุษย์ เพราะมนุษย์จะต้องใส่ใจศึกษาปรากฏการณ์แห่งชีวิตที่ดำเนินไปอย่างสลับซับซ้อนตามความเป็นจริงตามที่ปรากฏ  ท่านไฮเดกเกอร์มีความสนใจต่อประวัติศาสตร์เหมือนเฮเกล และได้พยายามตลอดเวลาที่จะประสานปัญหาทางปรัชญากับแนวคิดของนักปรัชญาในประวัติศาสตร์ ท่าน
ไฮเดกเกอร์ มีความเห็นว่า ปรัชญาตะวันตกได้เดินผิดเส้นทางครั้งแรกเริ่มตั้งแต่ช่วงเวลาของพลาโต (Plato) ที่ไม่ให้ความสนใจต่ออัตถิภาวะของมนุษย์ โดยที่ท่านพลาโตได้ให้ความสนใจศึกษาเรื่อง Forms ซึ่งเป็นเรื่องนามธรรมที่นำมนุษย์ห่างเหินจากตัวตนมนุษย์ที่แท้จริง
ถึงแม้ว่าท่าน Hidegger จะรับฟังความคิดเห็นของนักปรัชญาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Kant หรือใคร  ท่านก็ไม่ได้ลำเอียงเข้าข้างนักปรัชญาคนใดเลย แต่ท่าน เห็นว่า ค้านท์ คือนักปรัชญาผู้ที่จะพยายามสร้างอภิปรัชญา (Metaphysics[2]) ในมิติที่ให้ความสำคัญแก่มนุษย์ (Human existence) ท่านคีร์เคกอร์ดต่อต้านเฮเกลอย่างหนักตรงที่ว่า ท่านเฮเกล ให้ความสำคัญแก่ Concept มโนทัศน์[3]มากเกินไป และท่าน เองก็ได้ให้ความสำคัญแก่การกระทำของปัจเจกชน ท่านยังได้ตำหนิฮุสเซิร์ล ตรงประเด็นที่ว่า ได้มัวแต่ยุ่งอยู่กับ  essence[4] สารัตถะ มากเกินไป (essence =ภาวะอันเป็นเนื้อแท้ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นตัวของตัวเอง)  ท่านHeidegger เห็นว่า Phenomenology (ปรากฏการณ์วิทยา) ของฮุสเซิร์ล ละเลยอัตถิภาวะของปัจเจกชน โดยได้ให้เหตุผลไว้ว่า การวิเคราะห์หาเหตุผลด้านนามธรรม (concept) มากเกินไป ยังไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีอยู่จริง และไม่มีอยู่จริง ไฮเดกเกร์อคันค้านท่านฮุสเซิร์ลอีกตรงที่ว่า ท่านฮุสเซิร์ลไม่สนใจ being ( ความเป็นตัวตนจริงๆของสรรพสิ่ง) แต่อุทิศเวลาให้กับ Essence เท่านั้น
Hidegger กับความคิดเห็นเกี่ยวกับ Philosophy
คนส่วนมากมองว่า Hidegger ให้ความสำคัญแก่ความรู้ภาคปฏิบัติเหนือกว่าความรู้ภาคทฤษฎี เน้นความสำคัญของการสังเกตการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์เหนือความจริงทางคณิตศาสตร์ ให้ความสนใจต่อความคิดของแต่ละบุคคลเหนือแนวคิดที่รวบรวมไว้เป็นระบบปรัชญา สิ่งเหล่าเป็นความเข้าใจที่ค่อนข้างจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง แต่ข้อนี้แสดงให้เห็นว่าปรัชญาของท่านได้แพร่หลายและพัฒนาไปมาก
          Hidegger ได้ซึมซับรับเอาแนวคิดของนักปรัชญาในอดีตหลายท่าน แต่กระนั้นก็ตามท่านก็เป็นนักปรัชญาที่มีความคิดที่เป็นระบบและมีความเป็นตัวของตัวเองสูงคนหนึ่ง ท่านได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับปัญหาศีลธรรมที่มีความละเอียดอ่อนมากๆ ท่านสนใจปัญหาศีลธรรมทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในเวลาเดียวกัน ท่านปฏิเสธวิธีการต่างๆในอดีต และย้ำว่า ความจริงแท้ (Necessary Truth) ของปรัชญา สามารถเข้าถึงได้ไม่ใช่โดยการศึกษาแบบสังเกตการณ์ตามแนววิทยาศาสตร์ ทั้งไม่ใช่โดยการคิดหาเหตุผล และทั้งไม่ใช่วิธีการลดทอนปรากฏการณ์ต่างๆ (Phenomenological Reduction) ไฮเดกเกอร์ยอมรับปรัชญาเชิงวิเคราะห์ (Analytic Philosophy คือปรัชญาที่ถือว่าข้อความใดๆก็ได้ที่ประกอบด้วยความจริงที่พิสูจน์ได้จากควมหมายของคำโดยไม่ต้องรอให้พิสูจน์จากข้อเท็จจริง) ท่านได้แยกตัวเองออกจากปรัชญาที่เก็งความจริงที่กำลังแพร่หลายอยู่ในเยอรมัน ในช่วงศรรษตวรรษที่ 19 ท่านมองว่าปรัชญามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับภาษา (Language) และแนวคิด (Concepts) และยังมีส่วนคล้ายคลึงกับกวีมากทีสุด ปรัชญาศึกษาปัญหาด้านนามธรรมมากที่สุดและเกี่ยวข้องกับปัญหาขั้นพื้นฐานที่ว่า มนุษย์ควรดำเนินชีวิตอย่างไร
          ไฮเดกเกอร์ ให้ความสำคัญกับ Being (สิ่ง สภาวะ ความเป็นตัวตน) เป็นอย่างมาก แต่ท่านเห็นว่าการตอบปัญหาเกี่ยวกับ Beingไม่ใช่จะใช้การวิเคราะห์ตอบได้ แต่เราจะต้องจัดระเบียบความคิดให้เหมาะสมต่อการเข้าใจ Being สาเหตุที่ไฮเดกเกอร์มองว่ามนุษย์เราไม่อาจจะตอบปัญหา Being ได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่มีแนวคิดที่จะสามารถสร้างคำถามหรือคำตอบอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เราไม่มีคำศัพท์ที่จะอธิบาย Being ได้อย่างชัดเจน และทั้งยังไม่มีไวยากรณ์ด้วย ท่านมองว่าปรัชญาต้องหาคำพูดที่สามารถแสดงลักษณะที่แท้จริงที่มีอยู่ก่อนๆที่จะใช้ภาษาอธิบาย

ไฮเต็กเกอร์ กับปรัชญา

-          วิจารณ์เรื่องภาษทั่วไป
-          ปรัชญาต้องการภาษาแบบเฉพาะของมันเอง  และแนวคิด
-          ปรัชญาคล้ายกับกวี
-          ให้ความสำคัญต่อความรู้ภาคทฤษฎี-ปฏิบัติ
-          ปรัชญาศึกษาตำนานธรรมได้ดีที่สุด  และมันก็ให้ความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ คือ  ว่าควรมีชีวิตอยู่อย่างไร
-          เขาต้องการให้ใช้ภาษา  และ  ไวยากรณ์มาศึกษา  Being
-          ไม่มีภาษา-ไวยากรณ์ เพาะจะอธิบายปัญหาทางปรัชญา
-          ปรัชญาต้องพยายามหาคำที่แสดงถึงลักษณะที่แท้จริงชองสิ่งต่างๆได้ คือ พยายามใช้ภาษาให้เข้าใจภาวะก่อนที่จะถูกภาษาพูดถึง
-          ปรัชญาต้องอธิยายสิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ
-          ไฮเด็กเกอร์ต้องการสร้างภาษาใหม่และไวยากรณ์ พิเศษ เพื่ออธิบายความจริงทางปรัชญา (คือสร้างคำเฉพาะ)
-          ท่านไม่ยอมรับ  การแบ่งทฤษฎี ออกจากการปฏิบัติ
-          ต้องการแนวคิด เป็นระบบเพื่อศึกษาสาระของความคิด
-          ท่านไม่ได้แยกระหว่าง จริยศาสตร์  และ  อภิปรัชญา
-          Common sense  ไม่อาจเข้าใจ ความจริงทางปรัชญา
-          ปรัชญาต้องหาความจริงอยู่หลัง  common sense
-          ปรัชญาเน้นทฤษฎี  และเป็นแสงส่อทางคือให้ความรู้ว่าจะมีชีวิตอย่างไร
-          ปรัชญาต้องศึกษา ต้นตอของสิ่งที่ปรากฏที่พูดกันทุกๆด้านให้กระจ่าง
-          ความเสียหายเกิดจากการใช้ภาษา  ทั่วๆไป
-          ปรัชญาต้อง แก้ปัญหาเรื่องภาษา  เพื่อจะใช้ภาษาใหม่อธิบายความจริงให้ได้ตามประเด็นที่สุด
-          ปรัชญามีภาระคือ ต้องศึกษา ความจริง ที่บริสุทธิ์  ความสภาพที่มันเป็นจริงๆ
-          ปรัชญามีแนวทางร่วมกันกับกวี, เพราะกวีพยายามมองสิ่งต่างๆตามจริงไม่มีมายา  ต้องการศึกษาธรรมชาติของสรรพสิ่ง  ปรัชญาก็เช่นกัน
-          ภาษาทุกวันนี้  และภาษาปรัชญาแบบเก่า  ไม่สามารถจับประเด็นความจริงปรัชญาได้
-          ภาษา-กวีต่างกันคือ ปรัชญาแสวงหาความจริงแท้  โดยอาศัยภาษาส่วนกวีอาจจะไม่เน้นการแสวงหาความจริงเท่าไร แค่มันมีอิสระในการประดิษฐ์ภาษา
-          ปรัชญาต้องให้ความสนใจ ต่อ ปัญหาของ  Being  ให้มาก  และก่อนเพื่อน
ปฏิเสธการใช้ตรรกศาสตร์แสวงหาความจริงทางปรัชญา

          (Heideger)รุปแบบของการมีอยู่ของ (Dasein)
          ไฮเดกเกอร์เห็นว่า Dasein (ปัจจเจกชน หรือ คนแต่ละคน มนุษย์) ก็คือ care (กิเลส ตัณหา อุปาทาน)เพราวะว่ามนุษย์ต้องเกี่ยวข้อง (concern)กับสิ่งอื่นๆอยู่เสมอ มนุษย์นอกจากจะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆเช่นเครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้นนอกจากตัวของเขามนุษย์เองยังจะต้องเกี่ยวข้องกับตัวเขาเองด้วย ความเกี่ยวข้องขั้นแรกสุดกับตัวเองของมนุษย์ (Dasein) คือการเกี่ยวข้องในอันที่จะค้นหาว่าตนเองคือใคร (Who am I?) นี้คือการค้นหาซึ่งเอกลักษณ์ของตัวตน(self-identity)
          ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือการศึกษา Being และ Being ของฉันเองเป็นปัญหารีบด่วนที่ต้องแก้ไข ปัญหาของ Being ของฉันก็คือปัญหาที่ว่า Who am I? (ฉันคือใคร)และในการตอบปัญหาข้อนี้ เราก็พบว่าเรามีโครงสร้างที่สำคัญ 3 ประการ คือ(โครงสร้างนี้ยืนยันถึงความมีอยู่ของเรา) Existenze,Facticity(ธาตุแท้)และ Fallenness (ความตกต่ำ)ไฮเดกเกอร์เรียกโครงสร้างเหล่านี้ว่า existential structure (โครงสร้างที่แสดงถึงความมีอยู่ ) โครงสร้างเหล่านี้ คือสิ่งที่แสดงถึงความมีอยู่ของ Dasein และ Dasein มีอยู่ก็เพราะโครงสร้าง 3ประการนี้ โครงสร้างทั้ง 3 นี้ เป็นโครงสร้างที่ติดมากับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียว ยังมีโครงสร้างเหล่าอื่นของ Dasein เช่น Being-in-the-world,death,feedom เป็นต้นแต่ว่าโครงสร้างเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดภายหลังที่ได้มาจากลักษณะอันเป็นจุดศูนย์รวมของ dasein คือ กิเลส ตัณหา อุปาทานเพราะ Being-in-the-world ของ Dasein (ตัวเขา)นั่นเอง
          ไฮเดกเกอร์แยกระหว่างอัตถิภาวะที่ถูกต้อง (authentic)และไม่ถูกต้อง (authentic)ของ Dasein เขากล่าวว่า การมีชีวิตอยู่อย่างถูกต้อง คือการรู้สำนึกถึงโครงสร้างแห่งอัตถิภาวะ 3 ประการในขณะที่ความมีอยู่(อัตถิภาวะ)ไม่ถูกต้องคือการละเลยต่อการรู้ซึ้งหรือสำนึกต่อโครงสร้างทั้ง 3 ประการเหล่านั้น
          โครงสร้างประการที่หนึ่งคือ Existenze ซึ่งได้รับการนิยามว่า คือความเป็นไปได้และความเข้าใจ (possibility and understanding) Dasein คือความเข้าใจ ไฮเดกเกอร์เห็นว่า คือ แผนการของความเป็นไปได้โดยได้รับการช่วยเหลือจากความเข้าใจ ความเข้าใจ สำหรับไฮเดกเกอร์คือความเข้าใจถึงขั้นนำไปปฏิบัติได้
โครงสร้างประการที่ 2 คือ facticity (ธาตุแท้) ไฮเดกเกอร์ให้ความหมายของfacticity ว่า มันค้นหาตัวมันเองในโลก ไฮเดกเกอร์กล่าวว่า ความคิดรวบยอด (concept) เกี่ยวกับ facticity หมายถึง entity (สิ่งที่มีที่เป็น)ภายในโลก (Within-the-world)มีความมีอยู่เป็นอยู่ในโลก (Being-in-the-world)ในแนวทางที่ว่า Dasein สามารถเข้าใจตัวมันเองในฐานเป็นข้อผูกมัดในจุดมุ่งหมายของมันเองกัสสบ Being ของ entities (สิ่งที่มีที่เป็น)เหล่านั้นซึ่ง dasein เผชิญหน้า ภายในโลกของมันเอง ธาตุแท้ (facticity)คือเงื่อนไขจริงๆที่ Dasein ดำรงอยู่ (exists) และดำรงอยู่ในโลกตนเองเฉพาะ Fallenness from Being (ความพลาดจาก Being) เป็นการพลาดที่จะถามปัญหาเกี่ยวกับ Being และความไม่มีความสามารถที่จะถามความมีอยู่ของตนเองของบุคคลมันคือการลืมธรรมชาติแห่งอัตถิภาวะที่แท้จริงของบุคล เพราะ มันหมายถึง โครงสร้างสามประการท้างหมดนั้นรวมทั้งความเป็นไปได้และข้อเท็จจริงที่ปรากฏและการสูญเสียความประจักษ์ชัดด้วยตนเองและความเกี่ยวพันของตัวตนของบุคคลกับงานต่างๆเล็กๆน้อยๆที่ประดังเข้ามา ทั้งที่ไม่ได้เชื้อเชิญเลยโครงสร้างนี้ของ Dasein แสดงตัวมันเองในความเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องการนิยาม Care (กิเลส ตัณหา อุปาทาน)เป็นการตอกย้ำโครงสร้างทั้ง 3 ประการนี้ของ Dasein  Care คือ (Unity) เอกภาพ(หรือการรวมเป็นอันเดียวกัน)ของโครงสร้างทั้งสามประการนี้ ต่อไปเราจะศึกษาโครงสร้างสามประการให้ละเอียดยิ่งขึ้น
Existenze ไฮเดกเกอร์ให้ความหมายของ Existenze ไว้ว่าคือโครงสร้างที่มีมาก่อนจะเกิดประสบการณ์ใดๆ หรือโครงสร้างแห่งอัตถิภาวะของ Dasein ซึ่งหมายถึง a projection of possibilities (แผนการของความเป็นไปได้) แนวคิดเกี่ยวกับ Existenze นี้มีต้นดำเนิดในแนวคดของคีร์เคกอร์ด ซึงเขาได้แยกระหว่าง truly existing human beings(มนุษย์ที่มีอยู่จริงๆ)ผู้ซึ่งตระหนักถึงความเป็นไปได้ของตนเองและมนุษย์ (man) ที่สักว่ามี่ชีวิตอยู่ (so called existence) แต่ไม่ได้มีชีวิตอยู่จริงๆ(exist) เหมือนคีร์เคกอร์ด ไฮเดกเกอร์ยืนยันว่า ความมีเสรีภาพในการเลือกและการตระหนักถึงเสรีภาพ ก่อให้เกิดสารัตถะ (essence) ของอัตถิภาวะ (Existenze) ไฮเดกเกอร์กล่าวว่า สารัตถะของ Dasein ประกอบด้วยอัตถิภาวะของมัน (Existenze) และว่า Dasein เป็นของฉันที่จะมีเป็นในแนวทางหนึ่งหรืออื่นๆ Dasein กระทำการตัดสินใจบางอย่างเสมอๆ เหมือนในแนวทางที่ว่าในทุกๆกรณี Dasein คือ Dasein ของฉัน entity(สิ่งที่มีที่เป็น) ซึ่งมีอยู่ในความมีความเป็น (being) ของมันเอง มีความมีความเป็น (being) จริงๆนี้ เป็นแหล่งกำเนิด entity วางท่าทีตัวมันเองต่อ Being ของมันในฐานะทีเป็นความเป็นไปได้อย่างมากที่สุดของตัวมันเอง เพราะว่า Existenze คือแผนการของความเป็นไปได้ เราจะต้องค้นหาธรรมชาติของความเป็นไปได้เหล่านี้และลักษณะของแผนการนี้ ไฮเดกเกอร์กล่าวว่า ในแต่ละกรณี Dasein คือความเป็นไปได้ของ Dasein และ Existenze ก็มีความเป็นไปได้อันนี้ แต่มัน (Existenze) ก็ไม่ใช่คุณสมบัติ (proporty) ดังเช่นบางสิ่งที่ปรากฏให้เราเห็นทั่วๆไป อีกประการหนึ่ง เพราะว่าในทุกๆกรณี Dasein ก็มีความเป็นไปได้ของมันเองในความมีอยู่เป็นอยู่ของ Dasein จริงๆ Dasein สามารถเลือกตัวมันเองและชนะตัวมันเอง มันสามารถพ่าย แพ้ตัวมันเองและไม่เคยชนะตัวมันเองด้วย เมื่อมี่การกล่าวว่า Dasein ในทุกๆกรณีมีความเป็นไปได้ของตัวมันเอง หมายความว่า เราไม่ได้คาดหวังที่จะค้นหาความสามารถที่ซ่อนอยุ่ภายในหรือความสามารถเพื่อมนุษย์ทุกคนทั่วๆไปแต่หมายความว่า เราไม่ควรปรารถนาคุณลักษณะด่อนประสบการณ์ใดๆของแผนการของมนุษย์และจุดมุ่งหมายพร้อมทั้งคุณค่าต่างๆของมนุษย์ไฮเดกเกอร์ไม่เชื่อในธรรมชาติอันเป็นพรสวรรค์ของมนุษย์และก็ไม่มีความอุตสาหะพยายามที่เป็นพรสวรรค์ Dasein ในทุกๆกรณีมีความเป็นไปได้ของตัวมันเอง นี้ก็เพื่อยืนยันว่าในขณะที่ Dasein  มีความเป็นไปได้ของมันเองเสมอๆ ความเป็นไปได้อันนี้ อาจแตกต่างกัน เพราะว่ามนุษยชาติเป็นผู้แตกต่างกัน
Facticity โครงสร้างทางอัตถิภาวะของ Dasein ที่ไฮเดกเกอร์ อ้างถึงอีกอย่างคือ facilityเป็นความประณีตบรรจงอย่างหนึ่งของการนิยาม Dasein ว่าคือ Being-in-the-world Dasein มีชีวิตอยู่ในโลกเฉพาะและในเวลาเฉพาะ ในความเห็นของไฮเดกเกอร์ เราไม่อาจรู้สำนึกถึงความมีอยู่ของเราเองโดยปราศจากการสำนึกถึงในขณะเดียวกันว่า เรามีอยู่ในโลกเฉพาะ ธาตุแท้ (facility) ไม่ได้ค้นพบตนเองในโลกแต่การค้นพบตนเองในโลกเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น ในโลกแห่งศตวรรษที่ 20 อินเดียและยุโรปเกิดจากพ่อแม่เฉพาะคน พร้อมทั้งร่างกายเฉพาะนั้น หรือสิ่งแวดล้อมทางสังคมเฉพาะ ข้อเท็จจริงเหล่านี้ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของ Existenze ของ Dasein เพราะว่า ข้อเท็จจริงเหล่านั้นไม่ได้ถูก Daseins Existenze  เลือกการค้นตัวเองในโลก เฉพาะถูก Dasein ทำให้มีลักษณะเป็น being ในฐานะของความเป็นสิ่งที่ถูกปล่อยทิ้ง ข้าพเจ้าค้นพบตัวข้าพเจ้า มีชีวิตอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางในครอบครัวชาวอินเดีย พร้อมกับลักษณะ (สันดาน)ที่รับช่วงมาจากพ่อแม่ของข้าพเจ้า พร้อมกับความเป็นส่วนตัว (personality)ที่ถูกกำหนดบางส่วนโดยความเป็นเด็กแรกๆของข้าพเจ้า,พร้อมกับความรับผิดชอบ และความคาดหวังที่ถูกเราคาดหวังว่าจะมีจากตัวฉัน คือตำแหน่งหน้าที่ต่างๆในชีวิต อดีตทั้งหมดของฉันคือธาตุแท้ของฉัน เพราะว่ามันคือการรวบรวมข้อเท็จจริงซึ่งฉันก็ไม่ได้เลือกโครงสร้างทางร่างกายของฉันคือส่วนหนึ่งของธาตุแท้ของฉันด้วยเหมือนกันฉันสามารถหนีจากสถานที่นี้,ประเทศนี้ และแม้กระทั่งจากดาวโลกดวงนี้ แต่ฉันคือนักโทษของร่างกายของฉัน สำหรับไฮเดกเกอร์ ธาตุแท้คือ ทุกๆอย่างของสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดเหล่านี้ ซึ่งข้าพเจ้าเผชิญหน้าในอัตถิภาวะของข้าพเจ้า (ความมีอยู่ของข้าพเจ้า) แต่ว่าข้าพเจ้าถูกบ่งชี้ (กำหนด) โดยสิ่งที่เป็นพรสวรรค์เหล่านี้  Existenze ของข้าพเจ้า แนะนำ/ชักนำ ข้าพเจ้าให้เลือกท่าทีเฉพาะและแผนการต่างๆเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่มีมาแต่กำเนิดเหล่านี้ ข้าพเจ้าพร้อมกับร่างกายเฉพาะอันนี้ แต่ข้าพเจ้าสามารถเลือกที่จะเคารพบูชามัน,รังเกียจมัน หรือจัดระเบียบมัน เพื่อจุดประสงค์ทางจิตวิญญาณ ข้าพเจ้าสามารถจัดการกับร่างกายนี้ เหมือนว่าเป็นสิ่งที่หาได้ยาก ข้าพเจ้าอาจพบตัวข้าพเจ้าในสภาพแวดล้อมเฉพาะ แต่ข้าพเจ้าอาจเลือกที่จะคงไว้ ซึ่งความเป็นชนชั้นกลาง หรือ เลือกที่จะพัฒนาเหตุปัจจัยเงื่อนไขต่างๆ ของข้าพเจ้า หรือเพื่อมาสู่มาตรฐานความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่าสถานภาพของข้าพเจ้า ธาตุแท้ของข้าพเจ้าถูกกำหนดและมอบให้เป็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าถูกทอดทิ้งไว้ในสิ่งเหล่านี้ แต่แนวทางเฉพาะในข้อที่ข้าพเจ้าจะเผชิญเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ยังไม่ถูกบ่งบอก ตลอดไป Existenze ของข้าพเจ้า คือลำดับของความเป็นไปได้เสมอๆในความสัมพันธ์ต่อธาตุแท้ เพื่อแสดงว่า มีธาตุแท้ที่มีอยู่แล้วไฮเดกเกอร์ได้ให้ข้อพิสูจน์ทางปรากฏการณ์ต่ออัตฌัติถะญาณ (intuition = ความรู้ที่เกิดขึ้นในใจเอง) ซึ่งก่อให้เกิดการมองเห็นสารัตถะภายใน สิ่งเหล่านี้จะถูกค้นพบอยู่ในอารมณ์ทั้งหลาย ซึ่งเราประสบในการค้นหาตัวเราเองในโลก ไฮเดกเกอร์เห็นว่า อารมณ์ คือผลิตผลอย่างหนึ่งของ being tuned(การปรับสภาพ)เข้ากับหน้าที่การงานประจำวัน

Fallenness

          Existenze (อัตถิภาวะ)หรือความเป็นไปได้ เป็นโครงสร้างหนึ่งในบรรดาโครงสร้างต่างๆของ Dasein แต่ Dasein อาจพลาดการสำนึกถึงอัตถิภาวะนี้ (Existenze) ฉะนั้น Dasein (มนุษย์ภาวะ)อาจพลาดที่จะสำนึกถึงความเป็นไปได้อย่างมากมายของเขาเองโครงสร้างประการที่สามของ Dasein คือความมีนิสัยชอบที่จะละเลย Existenze (ความมีอยู่)ของตนเอง Existenze และ Fallenness (ความพลาดโอกาส) ทั้งสองนี้คือลักษณะอันเป็นปฐมของ Dasein บ่อยครั้งมากที่มนุษย์เกือบจะเข้าถึง อัตถิภาวะของตน (Existenze) แต่ว่า โดยส่วนมากมนุษย์ตกไปในอำนาจของความยั่วยวนอันเกิดจากความพลาดโอกาส มนุษย์ถูกรุมเร้าด้วยงานจุกจิก และปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวัน แล้วเขาเองจึงไม่มีเวลาไตร่ตรอง Existenze  ของตัวเอง ไฮเดกเกอร์กล่าวถึงทีท่าขั้นแรกที่มีต่อโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกๆวัน (จำเจ , everydayness) ที่ไม่อาจแยกแยะได้ นั่นก็คือ ความเป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกๆวัน (everydayness) ที่มีอยู่อย่างดาดดื่นในกรณีที่มนุษย์ (man) คือ Dasein ในโลกของเครื่องมือเครื่องใช้ ความเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกๆวันจนไม่อาจแยกแยะได้เหล่านี้ทำให้เราไม่ค่อยได้ฉุกคิด มนุษย์จึงไม่ได้ดั้งคำถามเกี่ยวกับ being  มนุษย์ยังไม่ได้เล็งเห็นความเป็นไปได้ของตนเอง ในขั้นนี้มนุษย์นิยามตัวเขาเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมทั่วไป เขาให้ความหมายตัวเอง ในความหมายของโนทัศน์ทั่วๆไปที่ว่า man-together(เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน)
          มนุษย์ทุกคนในเงื่อนไขนี้ เป็นการแสดงตัวของมนุษย์ธรรมดาหรือ มนุษย์ในความหมายทั่วๆไป ครั้งแรกๆ มนุษย์ถูกเปิดเผยเป็น The man (das mann) ซึ่งยังไม่ได้เป็นมนุษย์ที่แท้จริงตามแนวคิดของไฮเดกเกอร์แต่นี้ (man) ก็ยังไม่ได้รับการตราหน้าว่าเป็นมนุษย์ที่ไม่ถูกต้อง สิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้แต่แรกเริ่ม (primitive being-in-the-world)ถูกตีความหมายไปในแง่ที่ว่าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ในบริบทของผู้ใช้เครื่องมือเครื่องใช้เหล่านี้ Dasein ยังไม่ถูกสำนึกเห็น ไม่สามารถค้นหาความมีอยู่ของมันเองได้ และไม่สามารถสร้างภาพนึกฝันของตัวมันเอง ไฮเดกเกอร์ยืนยันว่าในการรับรู้ (consciousness) ตัวเอง พัฒนาในบทบาทของการสำนึกถึงกันและกัน กลุ่มมนุษย์ เพื่อเข้าใจ Who (ใคร) ของ dasein เราจักต้องสืบหาเข้าไปยัง
ความสัมพันธ์ขั้นปฐมระหว่าง Dasein และการคำนึงถึงคนอื่นของ Dasein นั้นข้อสมมติฐานของไฮเดกเกอร์คือว่า มนุษย์เป็นมนุษย์สังคม  คือมีความมีอยู่เป็นอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Being-with-others)
ไฮเดกเกอร์เห็นว่า ปัญหาของมนุษย์ไม่ใช่ความโดดเดี่ยวของเขา แต่เพราะรูปแบบต่างๆกันของการผูกมัดกันอย่างแนบแน่น ซึ่งเขาได้สร้างไว้กับคนอื่น ซึ่งเป็นรูปแบบที่ไม่ถูกต้องของ Being อัตถิภาวนยมของไฮเดกเกอร์พยายามที่จะทำลายข้อผูกมัดบางประการในบรรดาข้อผูกมัดกับคนอื่นๆ Dasein จักต้องถูกปลุกให้ตื่นตัวต่องานทางสติปัญญา คือการถามปัญหาเกี่ยวกับอัตถิภาวะและเพื่อให้เขาวางมือจากโครงสร้างทางสังคม มนุษย์จักต้องค้นหาความเป็นไปได้(ศักยภาพ)ของตนเองให้มากที่สุด หรือค้นหาตัวตนที่ถูกต้องของเขา (authentic self) ตามแนวคิดของไฮเดกเกอร์ เราจักต้องเริ่มโดยการรู้ความมีอยู่ (Existence) ของคนอื่นๆมิฉะนั้นเราไม่เคยที่จะสามารถรู้ความมีอยู่ของคนอื่นๆโดยการวินิจฉัย มันเป็นข้อสมมติฐานที่ผิดที่เริ่มจาก ความมีอยู่แห่งตัวตน (self-existence)ของตนเองก่อน และมันก็เป็นข้อสมมติฐานที่ผิดเช่นกันที่ว่า ข้าพเจ้ารู้ความมีอยู่ของข้าพเจ้าก่อนที่ข้าพเจ้าจะรู้ความมีอยู่ของผู้อื่น ความรู้จริงๆ เกี่ยวกับความมีอยู่ของข้าพเจ้า มีมาก่อนอยู่แล้ว ก่อนที่จะรู้ว่า ข้าพเจ้ารู้ว่ามีคนอื่นอยู่ ความรู้ของข้าพเจ้าเกี่ยวกับ   Being ของข้าพเจ้าเองมีอยู่ก่อน Being-with-other (มีอยู่ร่วมกับคนอื่น)
          การเผชิญหน้ากับคนอื่นๆครั้งแรกของเรามีความคล้ายกันกับการเผชิญหน้าขั้นแรกของเราเกี่ยวกับโลกในฐานะที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เราต้องการใช้งานคนอื่น เพื่อมาสนองความประสงค์ขอเรา แต่มันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะใช้คนอื่นๆเป็นเหมือนเครื่องมือเครื่องใช้  ความสัมพันธ์ที่ใหล้ชิดที่สุของเรากับบุคคลอื่นๆมีขึ้นโดยผ่านการเชื้อเชิญ มันอาจมีขึ้นโดยการเรียกร้อง การสั่งการ และกระบวนการต่างๆทำนองนี้ การเชื้อเชิญอาจจะได้รับคำตอบแนวลบ และความไม่แยแสของคนอื่นๆเพราะเรามีทีท่าไม่เอาใจใส่ต่อพวกเขา
          ตามความคิดเห็นของไฮเดกเกอร์ Being-with เป็นลักษณะความมีอยู่ของ Dasein ถึงแม้ว่า โดยความเป็นแก่นแท้แล้วจะไม่มีใครอยู่ร่วมใกล้ๆเรา ถึงแม้ความมีอยู่คนเดียว (Being-alone) ของ Dasein ก็ถือว่าเป็นความมีอยู่กับ (Being-with) ในโลกนี้ ถึงแม้เราจะลืมความเป็นอยู่กับ(คนอื่น)(Being-with)ดังนั้น มโนทัศน์ของเรา เกี่ยวกับตัวเราขึ้นอยู่กับมโนทัศน์ของตัวเราเอง ในฐานะที่เป็น Being-in-the-world-in-with-others (อยู่ในโลกร่วมกับคนอื่นๆ)ฉะนั้นเหตุผลที่ถือกันมาตามประเพณีที่ว่าความรู้ของฉันเกี่ยวกับตัวฉัน ก่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับการมีอยู่ของคนอื่น ก็ดูจะไม่สมเหตุสมผลเพราะว่ามันมีพื้นฐานอยู่บนข้อสมมติฐานที่ผิดพาดที่ว่า เราสามารถรู้ตัวเราเองก่อนแล้วเราจึงรู้คนอื่นๆ อะไรคือลักษณะของ Being ในฐานที่ว่ามันคือ Being with-others คำตอบก็คือว่า Dasein มีลักษณะเป็น Being ที่ไม่อาจแยกจากบุคคลอื่นๆ Dasein ในชีวิตประจำวันของเขาคือ Dasein ที่ลืมตัวเอง ไฮเดกเกอร์เน้นตัวตนของคนอื่นๆ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของ Daein คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับคนอื่น การรู้ the who(ใคร)ของ Dasein เราจักต้องรู้ Whothe other are (ใครคือคนอื่น) Heidegger กล่าวว่าคนอื่นเป็นเช่นที่เขาทำ Dasein คือส่วนหนึ่งขอสังคม Dasein มีความเป็นหนึ่งเป็นอันเดียวกันในหน้าที่ทางสังคม หน้าที่ทางสังคมถูกกำหนดไม่ใช่โดยปัจเจกบุคคลแต่โดยสาธารณชนนั่นเอง (สังคมนั่นเอง) ในฐานะที่เป็น Existenze , Dasin มีความเป็นไปได้ แต่ในลักษณะของ Being-with Dasein ได้สละสิทธิ์ของตนเองเพื่อวางแผนความเป็นไปได้เหล่นี้ เพื่อตัวเขาเอง ความเป็นไปได้เหล่านี้ถูกกำหนดโดยสังคมไม่ใช่โดยตัวเขาเอง สิ่งเหล่านี้ ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่ง เพราะฉะนั้น ตัวตน(self) ของ Dasein จึงไม่ใช่ตัวตนส่วนบุคคล (personal self) มันคือตัวตนขอสาธารณชนที่ไม่ปรากฏนามผู้ใดเลยเป็นการเฉพาะในแนวทางนี้ Who (ใคร)ของ Dasein ก็ไม่ใช่สิ่งนี้, ไม่ใช่สิ่งนั้น, ไม่ใช่ตัวตนของใคร,ไม่ใช่บางคน และไม่ใช่พวกเขาทั้งหมดรวมกัน Whoคือสิ่งที่เป็นกลางๆคือ das mann เพราะว่า das mann นั่นเอง, ความเข้าใจเกี่ยวกับ Dasein ถูกจำกัดโดยมาตรฐานโดยการเฉลี่ยความสำเร็จและความผิดพลาด มาตรฐานทั้งหลายถูกกำหนดโดย das mann และเพระฉะนั้นความแตกต่างทั้งหลายก็ถูกลดทอนลง จุดมุ่งหมายของ das mann คือมาตรฐานโดยเฉลี่ย (ธรรมดา) dasein ในฐานะที่เป็น das mann  ถูกปลดเปลื้องจากความรับผิดชอบต่อการสร้างมาตารฐานแห่งความสำเร็จของตนเอง มาตรฐานของ das mann ถูกชี้นำไปสู่ความเป็นสิ่งธรรมดาทั่วไปและเพราะฐานะที่เป็น das mann มัน (Dasein) จึง เกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายโดยวิธีที่เรียบง่าย ไฮเดกเกอร์อธิบายว่า  ทุกๆคนคือคนอื่นและไม่มีใครคือตัวเขา Das mann ที่ตอบคำถามว่า the who หรือ Dasein ทั่วๆไป คือ the nobody  เพราะว่าทุกๆ Dasein สละคืนตัวมันเองใน being-among-one-another ชีวิตของ das mann เป็นแบบง่ายๆ เพราะมันปฏิบัติตามกฏของชีวิตประจำวัน และไม่ต้องตัดสินใจด้วยตนเอง Dasein จึงเป็นสิ่งที่ถูกยั่วยวนให้ยืนหยัดในรูปแบบของความมีอยู่(Existenze) ที่ถูกแนะนำโดย das mann ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่ I ในความหมายของตัวตนของฉันว่าamแต่คือ others (คนอื่นๆ) ผู้ซึ่งมีแนวทางเป็นแบบของ das mann ความเย้ายวนเพื่อให้ยืนยันในสถานะของ das mann คือเงื่อนไขของ fallenness (ความพลาด)และมันคือโครงสร้างของความเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง (inauthenticity)ไฮเดกเกอร์กล่าวประโยคที่แสนประทับใจว่า ตัวตนในทุกๆวันคือตัวตนอของ das mann  ที่เราแยกจากตัวตนที่ถูกต้อง (authentic) ตัวตน, นั่นคือ,จากตัวตนที่ถูกครอบงำในแนวทางของมันเอง เพราะ das manns self (เพราะตัวตนของ das mann)  Dasein โดยเฉพาะ (particulsr Dasein) ได้ถูกจำแนกแยกไปสู่ das mann และสิ่งแรกสุดจักต้องค้นหาตัวมันเอง ความจำแนกแยกไปนี้ก่อให้เกิดลักษณะของ subjectของประเภทนั้นๆ ของ Being ซึ่งเรารู้ว่าเป็นการซึมซับทางความเกี่ยวข้องกันในโลกที่เราเผชิญหน้าที่ใกล้ชิดกับเรามากที่สุด

สรุปประเด็นสำคัญ  = รูปแบบของการมีอยู่ ของ Dasein
                    ไฮเด็กเกอร์
-         Dasein เป็นอันเดียวกับ Care (กิเลสตัณหา อุปาทาน)  เพราะ Dasein (มนุษย์ภาวะ)จะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นเสมอ เช่น เกี่ยวข้องในฐานะที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้
-         Dasein เกี่ยวข้องกับ Dasein   (ตัวมันเอง) ด้วย อย่างแรกสุด คือการเกี่ยวข้องในการค้นหาคำตอบว่า ตนเองคือใคร?  การค้นหาเช่นนี้ คือการค้นหาเอกลักษณ์ของตัวตนของมัน (self-identity)
-         ปัญหาที่สำคัญเร่งด่วนที่สุด ของ Dasein ก็คือปัญหาของ Being เป็นปัญหาของ Being ของฉัน ก็คือว่า who  am I ? (ฉันคือใคร?)
-         ในการตอบปัญหาที่ว่า who am I ? (ฉันคือใคร?) นี้ไฮเด็กเกอร์เห็นว่า Dasein มีโครงสร้างที่สำคัญ อยู่ 3 อย่าง ซึ่งมันยืนยัน Being  ของ Dasein  โครงสร้าง 3 อย่าง คือ Existenz, facticity และ Fallennes  (ความผิดพลาด) โครงสร้างทั้ง 3 อย่างนี้ เป็นสิ่งที่ติดตัวมากับ Dasein  ตั้งแต่เกิด เมื่อเรารู้ซึ่งถึงโครงสร้างเหล่านี้เราก็จะมี อัตถิภาวะที่ถูกต้อง (authentic existence)
-         โครงสร้างทั้ง 3 นี้ ประกอบกันเป็นเอกภาพซึ่งเป็นเครื่องยืนยันความมีอยู่ของ Dasein นี้ก็เพราะมี care  (กิเลส ตัณหา อุปทาน)
-         Existenz คือโครงสร้างที่มีมาก่อนสิ่งอื่น มันมาพร้อมกับ Dassein  ที่ไหนมี Dasein  ที่นั้นก็มี Existenz  ที่ไหนมี Existenz ที่นั้นก็มี Dasein
-         Existenz  มีสารัตถะ (essence) คือเสรีภาพในการเลือก และการตระหนักในเสรีภาพ ดังนั้น Existenz  มีก่อน essence  Existenz มีความเป็นไปได้ (possibility) จึงก่อให้มี  สารัตถะ
-         Entities เกิดจาก beings ดังนั้น entities จึงเป็นสารัตถะของ being, beings เป็นสาเหตุของ entities Beings มีความเป็นไปได้จึงก่อให้มี entities
-         Existenz มีความเป็นไปได้ ซึ่งก่อให้เกิด Dasein ดังนั้น Dasein ก็คือความเป็นไปได้ของ Existenz
-         Dasein ไม่ใช่คุณสมบัติของ Existenz อย่างที่เห็นกันทั่วไปในสิ่งอื่น
-         Dasein ก็มีความเป็นไปได้ในตัวมันเองอีกด้วย มันสามารถ เลือกด้วยตัวมันเอง ชนะตัวมันเอง แพ้ตัวมันเอง นี้หมายความว่า ถึงแม้ Dasein จะมีความเป็นไปได้ในทุกๆ กรณี เราก็ไม่ได้คาดหวังที่จะค้นหา ความเป็นไปได้คือความสามารถที่ซ่อนอยู่ภายในของ Dasein และหมายความว่า เราไม่ควรปรารถนาคุณสมบัติใด ที่เป็นพรสวรรค์  คือสิ่งที่มีมาแต่กำเนิด แต่เราจะต้องคาดหวังจาก  แผนการคือการกระทำ  ของมนุษย์  ไฮเด็กเกอร์ไม่ยอมรับพรสวรรค์ แต่ยอมรับพรแสวง เขายอมรับว่า ถึงแม้ Dasein จะมีความเป็นไปได้ แต่มันก็มีข้อกำหนดแตกต่างกัน เพราะมนุษย์เป็นผู้แตกต่าง
-         Facticity  คือธาตุแท้ มันคือทุกสิ่งที่เป็นมนุษย์ คือธาตุแท้ของเขามันคือสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับเขา และกำหนดตัวเขาเอง แต่ข้าพเจ้ามี Existenz คอยแนะนำ ข้าพเจ้าให้ทำการต่าง ข้าพเจ้าถึงมีธาตุแท้เป็นเช่นนี้ แต่ข้าพเจ้าก็มี Existenz ช่วยพัฒนาตัวข้าพเจ้า
-         Fallenness คือการที่ Dasein ถึงแม้จะเกิดจาก Existenz แต่มันก็มักจะลืมสำนึกถึง Dasein นี้คือความพลาดจากการสำนึก  Existenz ของ Dasein

Dasein

          Being ของฉันก่อให้เกิด entity คือ Dasein (มนุษย์ภาวะ) Dasein เกิดมาจากสภาพที่เป็นไปได้ของ Being (สภาวธรรม หรือความมีความเป็น,) Being ของฉันจะต้องได้รับความสนใจโดยด่วนที่สุด Being เลือกได้เอง ชนะตัวเองก็ได้ แพ้ตัวมันเองก็ได้ด้วย ในบางครั้ง Being แสดงออกในสิ่งที่ไม่เหมาะสม Dasein ก็ยังถือว่ามีลักษณะของ Being อยู่เหมือนเดิม  Dasein อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่  Dasein  ที่แท้จริง ต่อเมื่อมันถูกทำให้สับสน หรือตื่นเต้น   Dasein คือ self ที่แท้จริง Dasein นี้ ไม่ใช่กัตตา (subject) และไม่ใช่กรรม (object)ไม่ใช่ทั้งสิ่งที่เป็นอุตรภาพ หรือสิ่งที่ประสบการณ์ได้โดยทั่วไปธรรมดา Dasein เป็นวัตถุหรือสิ่งทางภววิทยา ในการให้ความสำคัญต่อปัญหาของ Being ไฮเดกเกอร์บอกว่า Dasein ว่าโดยสาระแล้ว เป็น ontological object ซึ่งหมายความว่า Dasein จักต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาของ Being ไฮเดกเกอร์กล่าวว่า Dasein เป็นสิ่งที่แยกพิเศษ โดยข้อที่ว่ามันเป็น ontological  object ยังมีการแยกที่สัมพันธ์กัน คือ ระหว่าง existentielle และ existential Existentielle หมายถึงสิ่งทั่วไปในโลก commonsense. Existentielle เป็นคุณสมบัติที่ถูกตบแต่งปรุงแต่งขึ้นภายหลังไม่ใช่สารัตถะ  Existential หมายถึง ontological object  ดังที่นำมาใช้เฉพาะกับ Dasein โครงสร้างทางอัตถิภาวะ (existence) อย่างหนึ่งของ  Dasein  คือโครงสร้างอันเป็นสาระ หมายถึง Dasein  คือ a being-in-the-world.
          เพราะฉะนั้นเราสามารถเข้าใจได้ว่า Dasein ไม่ใช่กัตตา (subjet) แต่มันได้รื้อถอนแนวคิดแบ่งแยกระหว่างกัตตา (subject) และกรรม (object) ตัวที่มันได้ถูกนิยามไว้ว่า a being-in-the-world. Dasein ไม่อาจถูกแยกจากความมีอยู่ของมันในโลก ดังนั้นจึงไม่มีความหมาย ที่จะตั้งสมมติฐานว่า เรารู้ตัวเราเองได้ดีกว่าเรารู้โลกมันก็เป็นไปไม่ได้อีกที่จะแนะนำว่า เรารู้ตัวเราเองในวิธีที่ต่างกันแล้วเรารู้เกี่ยวกับโลก เรารู้ตัวเราเองและโลกเหมือนเป็นสิ่งเดียวกันเพราะตัวเราเองและโลกสร้างปรากฏการณ์อันเดียว (phenomenon) ขอยกคำพูดของไฮเดกเกอร์ที่ว่า การพูดแบบซับซ้อนBeing-in-the-world แสดงในความหมายจริงๆที่ว่า เราได้ประดิษฐ์มันซึ่งมันใช้บอกถึง ปรากฏการณ์อันเป็นหนึ่งเดียว  ความเห็นของไฮเดกเกอร์ก็คือว่า โลกไม่อาจถูกละไว้ (bracketed) หรือถูกสงสัย และการคิดถึงเช่นนั้นเป็นการหลอกลวงทางปรัชญา เพราะฉะนั้น มันจึงเป็นสิ่งที่ไม่ฉลาดที่จะถามว่า Dasein สามารถเข้าถึงภาวะเหนือตัวมันเองเพื่อเข้าใจโลก ทั้งเราก็ไม่สามารถที่จะตั้งข้อสมมติฐานได้ว่าDasein กำลังฝันถึงโลกโลกหนึ่ง แต่ไม่มีส่วนไหนเลยของโลกนั้นDaseinและ Being-in-the-worldเป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกจากกันได้ มันทั้งสองคือปรากฏการณ์อันเดียวกัน มันอาจจะถามได้ในจุดนี้ว่าไม่ใช่การแบ่งแยก Subject-object บนพื้นฐานของความหมายทั่วไปหรือ? เราสามารถเลิกการแบ่งแยกปราศจาก การยกเลิกหลักไวยากรณ์ subject-predicate ซึ่งเป็นพื้นฐานของภาษาของเราได้หรือ?เราจักต้องเข้าใจว่าไฮเดกเกอร์กำลังทำ ปรากฏการณ์วิทยา(phenomenology) และการพิสูจน์เพราะว่าความคิดของเขาจักต้องเป็นสิ่งที่มีอยู่ในการอธิบายอย่างระมัดระวัง ซึ่งประสบการณ์ขั้นแรกเริ่ม (primative experience)การปฏิเสธการแบ่งแยก subject-object และการใช้คำว่า Dasein ในฐานะแห่งแนวคิดตามประเพณีนิยมของ  ego (ตัวตน)consciousness (วิญญาณ)และsubject(กัตตา=ผู้กระทำ)จักต้องถูกปกป้อง ทางปรากฏการณ์(phenomehologically)ไฮเดกเกอร์ต้องการแสดงให้เห็นความผิดพลาดขั้นพื้นฐานที่สุด 2 ประการในปรัชญาตามประเพณี ไฮเด็กเกอร์คิดว่าแนวคิดเกี่ยวกับ ego (ตัวตน)ที่เป็นพื้นฐาน (basic)ของทุกๆสิ่งไม่ได้ถูกสนับสนุนโดยหลักฐานทางปรากฏการณ์วิทยา นี้คือข้อที่หนึ่ง  ส่วนข้อที่สองในความเห็นของไฮเดกเกอร์คคือว่ามีการแบ่งแยกระหว่างโลกและวัตถุ (object) ของโลก เกี่ยวกับข้อแรกไฮเดกเกอร์กำลังยืนยันซ้ำอีกที่เกี่ยวกับข้อสมมติฐานของฮูม (humean thesis) ที่ว่า ไม่มีประสบการณ์ที่สามารถพิสูจน์การพูดเกี่ยวกับ ego หรือ consciousness การพูดเช่นนั้นไม่สามารถที่จะถูกเสนอขึ้นมานอกเหนือไปจากโครงสร้าง (foundation)ของมัน(ego) ในภววิทยานั่นเอง ดังนั้นจึงไม่มีกัตตา (subject) ไม่มี ego (ตัวตน) และความเห็นแรกเริ่มเกี่ยวกับประสบการณ์เกี่ยวกับโลกก็ไม่สามารถอธิบายประสบการณ์ว่าเป็นประสบการณ์เกี่ยวกับ ego มันเป็นไปไม่ได้เช่นกันที่เหมือนฮูมพูดไว้ที่ว่า มีแต่ประสบการณ์เพราะว่าการอธิบายเช่นนั้นจะนำเรากลับไปสู่ความคิดหรือความรู้เกี่ยวกับกัตตา (subject) ซึ่งมีประสบการณ์
          นักปรัชญาทั้งหลายได้ถูกชักนำไปแบบผิดๆให้เชื่อในความมีอยู่ของ ego โดยหลักไวยากรณ์ภาษา และพวกเขาก็ได้แปลงความจำเป็นทางไวยากรณ์ว่าเป็นความจำเป็นทางภววิทยา ไฮเดกเกอร์กล่าวว่า คำที่ว่า Iจะต้องถูกเข้าใจในความหมายของตัวผู้แสดงอย่างเป็นรูปแบบที่ไม่ได้มีการผูกมัดใดๆ เพราะฉะนั้น จึงไม่มี I ที่สามารถถูกแยกอย่างเป็นอิสระจริงๆจากโลกทั่วๆไป และไม่มีการละเว้นไว้ (bracketing = วงเล็บไว้) หรือการสงสัยเกี่ยวกับสิ่งทั้งหลาย (things)ภายนอกของ consciousnessที่เป็นไปได้ ในทันที ที่ความรู้เกี่ยวกับ ego แรกเริ่มที่ไม่อาจสงสัยได้ถูกยกเลิก ปัญหาทางอภิปรัชญาตามประเพณีก็ไม่เกิดขึ้น เมื่อไฮเดกเกอร์กล่าวว่า Dasein คือ a being-in-the-world นั่นไม่ได้หมายความว่า มีเพียงการอยู่คู่เคียงกันของ Dasein และโลก (the world)มันคือความใกล้ชิดกันอย่างแนบสนิทของ Dasein และโลก เพราะความใกล้ชิดอย่างแนบแน่นนี่เอง  being ทั้งหลายเหล่าอื่นซึ่งมีอยู่ในโลกอาจถูกเผชิญหน้า นั่นก็คือ พวกมัน (being) แสดงตัวมันเองสำหรับสิ่งที่พวกมันเป็น เมื่อพวกมันติดต่อกับ Dasein การติดต่อกันของ object (วัตถุ)กับ Dasein ไม่ใช่เพื่อ ความรู้ (knowledge) แต่ว่าในธรรมชาติ ของความสัมพันธ์ภาคปฏิบัติกับ objects ซึ่งในภาษาของไฮเดกเกอร์คือ having-to-do-with (มีปกติต้องทำงานกับสิ่งเหล่านี้)และการเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายนี้คือการติต่อกันเป็นประจำทุกๆวัน ความคุ้นเคยกับ being ไม่ใช่อะไรที่เป็นภาคทฤษฎีถ้ามันถูกเข้าใจ ว่าเป็นเพียงความไตร่ตรอง อีกประการหนึ่งความคุ้นเคยกับ beings นี้เป็นการเกี่ยวข้องที่เป็นรูปธรรมกับ beings เหล่านั้น (Dasein เกี่ยวข้องกับ being)
ไฮเด็กเกอร์   สรุปประเด็นสำคัญ=รูปแบบของการมีอยู่ของ Dasein
-Dasein เป็นอันเดียวกันกับ care (กิเลศ ตันหา อุปาทาน) เพราะ Dasein (มนุษย์ภาวะ) จะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นเสมอ  เช่น  เกี่ยวข้องในฐานะที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้
-Dasein เกี่ยวข้องกับ Dasein ( ตัวมันเอง ) ด้วย  อย่างแรกสุด คือ การเกี่ยวข้องในการค้นหาคำตอบว่า  ตัวเองคือใคร?  การค้นหาเช่นนี้  คือ การสนทนา  เอกลักษณ์ของตัวตนของมัน (self identity)
-ปัญหาที่สำคัญ  เร่งด่วนที่สุดของ Dasein ก็คือ ปัญหาของ Being ปันหาของ Being ของฉันก็คือว่า Who am I (ฉันคือใคร?)
- ในการตอบปัญหาที่ว่า  Who am  I (ฉันคือใครนี้?)  ไฮเด็กเกอร์ เห็นว่า Dasein มีโครงสร้างที่สำคัญอยู่ 3 อย่าง ซึ่ง มันยืนยัน  Being ของ Dasein โครงสร้าง 3 อย่างคือ Existens , Facticity และ Fallenness (ความผิดพลาด) โครงสร้างทั้ง 3 นี้ เป็นสิ่งที่ติดตัวมากับ  Dasein ตั้งแต่เกิด เมื่อเรารู้ซึ้งถึงโครงสร้างเหล่านี้ เราก็จะมีอัตถิภาวะที่ถูกต้อง (authentic existence)
- โครงสร้าง ทั้ง 3 นี้ ประกอบกันเป็นเอกภาพซึ่งเป็นเครื่องยืนยันความถูกต้องของ Dasein ที่นั่นก็มีcave ( กิเลศ ตันหา อุปทาน)
-Existenz คือ โครงสร้างที่มีมาก่อนสิ่งอื่น มันมาพร้อมกับ Dasein ที่ไหนมี Dasein ที่นั่นก็มี Existens ที่ไหนมี Existens ที่นั่นก็มี Dasein
-Existenz มีสารัตถะ (essence)คือ เสรีภาพในการเลือก และการตระหนักในเสรีภาพ ดังนั้น existenz มีก่อน essence  Existenz มีความเป็นไปได้จึงก่อให้เกิดสารัตถะ
-entities เกิดจาก beings ดังนั้น entities จึงเป็นสารัตถะของ being, beingsเป็นสาเหตุขอ entities .  Beings มีความเป็นไปได้ จึง ก่อให้มี entities
-existenz มีความเป็นไปได้ ซึ่งก็ให้เกิด Dasein ,ดังนั้น Dasein ก็คือความเป็นไปได้ของ existenz
-Dasein ไม่ใช่คุณสมบัติ ของ existenz อย่างที่เห็นกันทั่วไปในสิ่งอื่นๆ
-Dasein ก็มีความเป็นไปได้ ในตัวมันเองอีกด้วย มันสามารถ เลือกด้วยตัวมันเอง ชนะตัวมันเอง, แพ้ตัวมันเอง ฯลฯ นี้หมายความว่าถึงแม้ Dasein จะมีความเป็นไปได้ในทุกๆกรณี เราก็ไม่ได้คาดหวังที่จะค้นหา ความเป็นไปได้ คือความสามารถที่ซ่อนอยู่ภายในของ Dasein  และหมายความว่าเราไม่ควรปรารถนาคุณสมบัติใดๆที่เป็นพรสวรรค์ คือสิ่งที่มีแต่กำเนิด แต่เราจะต้องคาดหวังจาก แผนการคือการกระทำของมนุษย์ ไฮเดกเกอร์ไม่ยอมรับพรสวรรค์ แต่ยอมรับพรแสวง เขายอมราบว่า ถึงแม้ Dasein จะมีความเป็นไปได้ แต่มันก็มีข้อกำหนดแตกต่างกันเพราะมนุษย์เป็นผู้แตกต่างกัน
-Facticity คือธาตุแท้ มันคือทุกสิ่งที่เป็นมนุษย์คือธาตุแท้ของเขามันคือสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับเขา และกำหนดตัวเขาเอง แต่ข้าพเจ้ามี existenz คอย แนะนำข้าพเจ้าให้ทำการต่างๆ ข้าพเจ้าถึงมีธาตุแท้เป็นเช่นนี้ แต่ข้าพเจ้าก็มี Existenz ช่วยพัฒนาตัวข้าพเจ้า
-Fallenness คือการที่ Dasein ถึงแม้จะเกิดจาก existenz แต่มันก็มักจะลืมสำนึกถึง Dasein นี้คือความพลาดจากการสำนึกถึง Existenz ของ Dasein
         
วิเคราะห์โลก (Analysis of the world) Heidegger
          จุดเริ่มต้นของไฮเดกเกอร์คือการสร้างจุดยืนแห่งความเห็นขั้นแรกเริ่ม (primitive) หรือที่เป็นธรรมชาติ (natural) เกี่ยวกับโลก โลกประกอบโครงสร้างอันเป็นสาระของ Dasein (มนุษย์ภาวะ) แต่ entity (สิ่งที่มีที่เป็น)ทั้งหลายไม่ใช่โครงสร้างอันเป็นแก่นสารหรือเป็น existentialia ของ Dasein  ยังมีความเกี่ยวข้องกันอย่างจำเป็นระหว่าง Dasein (มนุษย์ภาวะ) และโลกแต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างจำเป็นเช่นนั้นระหว่าง Dasein และ entities ในโลก entity แต่ละอย่างก็แตกต่างกัน เราสามารถพูดเกี่ยวกับการไม่มีอยู่ของโลก แต่มันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะกล่าวเช่นนั้นเกี่ยวกับโลก ด้วยการยืนยันถึง  entities โดยไม่ยืนยันถึงโลก เราสามารถเริ่มต้นที่จะกล่าวเกี่ยวกับการแบ่งแยกระหว่าง subject (กัตตา)และ object (กรรม) แต่มันก็จำเป็นที่ต้องตรวจสอบความสัมพันธ์ขั้นแรกเริ่มระหว่าง Dasein  และ entities ปรัชญาตามประเพณีได้เข้าใจความสัมพันธ์อันนี้เหมือนเป็นหนึ่งของความรู้และ entities ที่รู้กันคือสิ่ง (things)หรือวัตถุ (objects)  การเน้นความรู้ได้ปิดบังจุดยืนทางความเห็นขั้นแรกเริ่ม และเป็นธรรมชาติ ไฮเดกเกอร์ตั้งข้อสังเกตว่าการติดต่อกันของกัตตา (subject) กับโลกไม่ได้สร้างสรรค์โดยการรับรู้สำหรับครั้งแรก มันก็ไม่ได้เกิดจากบางวิธีในข้อที่ว่าโลกทำงาน (ปฏิบัติการ)อยู่บน กัตตา (subject) คำถามว่า อะไรคือสถานะพื้นฐาน ถ้ามันไม่ใช่ความรู้เกี่ยวกับสิ่งทั้งหาย (things) ไฮเดกเกอร์เรียกการเผชิญหน้าเริ่มแรกกับสิ่งต่างๆว่า dealing(การเกี่ยวข้อง) การเกี่ยวข้องเช่นนั้นได้กระจายตัวมันเองเป็นหลายวิธีของการเกี่ยวข้อง การเกี่ยวข้อง (dealing) ชนิดนี้ซึ่งใกล้ชิดเรามากที่สุด คือ ไม่ใช่ความรู้แบบประจักษ์(perceptual) เปล่าๆ แต่เป็นชนิดของการเกี่ยวข้องที่ยักย้ายถ่ายเทสิ่งทั้งหลายและจัดการใช้มัน นี้ก็มีชนิดแห่งความรู้ของตนเอง ไฮเดกเกอร์คิดว่า ชนิดของความรู้ซึ่งได้รับ ความสำคัญที่สุดโดยนักปรัชญาอื่นๆ คือความรู้ทางทฤษฎี ประเภทของความรู้ (การรับรู้) ไม่ใช่การเผชิญหน้าขั้นแรกเริ่มกับโลก แต่มันมาจากความสัมพันธ์ภาคปฏิบัติขั้นพื้นฐาน ความสัมพันธ์ภาคปฏิบัติเช่นนั้น คือ การได้ทำกับบางสิ่ง (having to do with something)ผลิตบางสิ่ง(producing something)จงใจต่อบางสิ่ง และดูแลบางสิ่ง,ใช้ประโยชน์จากบางสิ่งยกเลิกบางสิ่งและปล่อยมันไป,การยอมรับ(เข้าทำ)....การอภิปราย,การกำหนด..? ท่าทีที่เน้นการปฏิบัติเหล่านี้ถูกทำให้มีลักษณะเป็นการเกี่ยวข้องและ Dasein ขั้นแรกเริ่มกำลังใช้ entities ที่มันเผชิญหน้า entities ที่ Dasein เผชิญหน้าในลักษณะนี้เรียกว่า เครื่องมือเครื่องใช้ (equipments) ไฮเดกเกอร์ต้องการที่จะแสดงว่าเราไม่ได้คุ้นเคยทีแรกกับสิ่งต่างๆแต่มันคือประโยชน์ (การใช้) entities ที่ก่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ (things)  สิ่งโดยทั่วๆไป เข้าใจกันว่าเป็นสิ่งที่มีคุณลักษณะคือ ความเป็นสารัตถะ (substantiality),ความเป็นวัตถุ ,กินที่ (extension)การสืบต่อกัน (contiguity).   Equipment  (เครื่องมือเครื่องใช้)เป็นสิ่งที่เป็นวัตถุ และในการใช้ฆ้อน entity (สิ่งที่มีที่เป็น)ของฆ้อนไม่ได้ถูกเข้าใจในทางทฤษฎี แต่เราข้าใจฆ้อนเมื่อเราใช้มันตีตะปูได้   คนตีฆ้อนไมใช่เพียงแค่มีความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของฆ้อนว่าเป็นเครื่องมือแต่เขาต้องใช้เครืองมือเครืองใช้ให้เหมาะในแนวทางที่สมควรที่สุด ในกรณีที่บางสิ่งได้ถูกจัดการมาใช้ ความเกี่ยวข้องของเรากลายเป็นสิ่งที่รองลงมาสำหรับ in order to (เพื่อจะ) ซึ่งทำให้เครื่องมือเครื่องใช้เป็นอย่างที่มันเป็นเมื่อเรากำลังใช้งานมัน ในความเห็นของไฮเดกเกอร์ ความรู้ของเราเกี่ยวกับ entities ไม่ใช่ การมองดูเลย การสังเกตในทุกๆวันของเรา แสดงออกมาให้เห็นความแตกต่าง นักไวโอลินคนหนึ่งเริ่มคลำหาสายไวโอลินอย่างเงอะงะในขณะที่เขาพยายามจะสังเกตนิ้วของเขาในเวลาเล่นบทเพลงท่อนที่ยากๆการสังเกตโดยประสบการณ์ตรงแสดงให้เห็นว่ามีแนวทางของการรับรุ้ 2 แนวทางคือ 1.  ความรู้ในการสังเกต 2.  ความรู้ในการใช้ ประเภทของความรู้ทั้งสองนี้ สัมพันธ์กันและกันในแนวทางที่ต่างกัน เมื่อเผชิญหน้ากับ entities ประเภทหนึ่งคือ knowing how (รู้อย่างไร) และประเภทหนึ่งคือ knowing that (รู้สิ่งนั้นว่าคืออะไร ประเภทแรกคือการเข้าใจเครื่องมือเครื่องใช้ในขณะที่ประเภทที่สองเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งต่างๆ (things) มันเป็นไปไม่ได้ที่จะลดทอนความเข้าใจของเราเกี่ยวกับ entity ซึ่งเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ (equipment)สู่การเข้าใจ เกี่ยวกับสิ่ง (things) เราสามารถมองปราดไปยังการปรากฏตัวของสิ่งข้างนอกตัวเรา แต่เราไม่สามารถค้นหาสิ่งใดๆว่าเป็น equipment (เครื่องมือเครื่องใช้)ไฮเดกเกอร์ตั้งข้อสังเกตว่า equipment (เครื่องมือเครื่องใช้)ไม่ใช่สิ่งกับการใช้ประโยชน์ มันไม่ใช่สิ่งเลยเสียมากกว่า สิ่ง (thing) มีคุณสมบัติ (properties) มีความสัมพันธ์ทางเหตุและผล มีที่ทางในเทศะ (space) เครื่องมือชิ้นหนึ่ง มีประโยชน์จากการใช้สอย มันถูกใช้งานในโครงการ ฆ้อนในฐานะเป็นสิ่ง เป็นสิ่งที่อิสระจากบริบทใดๆ แต่ฆ้อนในฐานที่เป็นเครื่องมือ ขึ้นอยู่กับบริบทของเครื่องมือเครื่องใช้เสมอๆ มันไม่ใช่เครื่องมือคือฆ้อนเลยถ้ามันไม่มีการใช้ตี เครื่องมือเครื่องใช้มีอยู่ในรูปแบบที่ว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับเครื่องมือเครื่องใช้อย่างอื่น เช่น ปากกา ,น้ำหมึก,กระดาษ,โต๊ะ,หลอดไฟ,โคมไฟ,หน้าต่าง,ประตู,ห้อง,บ้าน...มันคือการจักสรรค์เครื่องมือที่แตกต่างกัน ดังนั้นเครื่องมือเฉพาะอย่างจึงแสดงตัวมันเอง  เครื่องมือทั้งหมด ถูกค้นพบก่อนที่เครื่องมือเฉพาะอย่างสามารถแสดงตัวมันเอง โดยวิธีนี้เราเห็นว่าทำไม เครื่องมือ จึงไม่ใช่แค่สิ่ง(thing) ความเกี่ยวข้องของเรากับเครื่องมือ ถูกผูกมัดอย่างแยกไม่ออกกับภาพรวมทั้งหมดของเนื้องานที่จะต้องทำ สิ่งเฉพาะไม่ใช่สิ่งที่รู้ล่วงหน้า แต่ว่ามันเป็นบริบทเท่านั้น การเกี่ยวข้องกับเครื่องมือต้องการประเภทความรู้ที่สามารถนำเครื่องมือไปใช้โดยสะดวกต่อคนอื่นๆ และนี้ไฮเดกเกอร์ เรียกว่า circumspection (ความบรรจง,ชำนาญ)
          แต่เราไม่ควรคิดไปว่า การแบ่งแยกระหว่างสิ่ง (things) และเครื่องมือ(equipments) หมายความในแง่ว่าไม่มีความรู้เสียเลยในบริบทของเครื่องมือ (equipments) ดูจะเป็นว่าจุดประสงค์ก็คือเพื่อเน้นความสำคัญของ knowing how และเพื่อรื้อถอนความรู้สิ่งนั้น(knowing that=รู้สิ่งนั้น;jk8nvvtwi)ทางความคิดความเห็น (concept)ที่มีมาก่อนโดยยึดถือกันมาเป็นประเพณี การรู้ว่าจะใช้ประโยชน์ฆ้อนอย่างไร เป็นความรู้จริง (knowing how is true knowledge) ถึงแม้ว่า บุคคลจะไม่สามารถพูดถึงความรู้ประเภทนี้ได้เลย แต่คุณสมบัติ (behavior) ภาคปฏิบัติ มีแนวความรู้ของตัวมันเอง แต่ความรู้แบบแนวความคิด เป็นสิ่งที่ได้มาทีหลัง (ทุติยภูมิ) (conceptual knowledge is derivative) แนวทางในข้อที่คุณสมบัติทางทฤษฎี แตกต่างจากคุณสมบัติภาคปฏิบัติเป็นสิ่งที่ไม่ใช่มีอยู่ง่ายๆ ในกรณีแรก บุคคลเพียงแค่สังเกต ในขณะที่อย่างหลังบุคคลต้องปฏิบัติ และการปฏิบัติจักต้องประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎีถ้าความรู้นั้นไม่เป็นสิ่งที่คร่ำครึ แต่การปฏิบัติมีแนวพิจารณาเป็นของตนเอง คุณสมบัติภาคทฤษฎี ไฮเดกเกอร์กล่าว เป็นเพียงแค่การมองดู ปราศจากการลางมือปฏิบัติ (circumspection= ความบรรจง, ละเมียดละไม, การลงในรายละเอียด)
          ไอเดกเกอร์ยืนยันว่า equipment และ knowing howเป็นขั้นแรกเริ่ม (Primative) ในขณะที่สิ่ง (things) และ knowing that เป็นสิ่งที่ได้มาภายหลัง เหตุผลของเขาก็คือว่า บุคคลสามารถได้มาซึ่งความเห็นเกี่ยวกับสิ่งจากการเกี่ยวข้องกับเครื่องมือ แต่บุคคลไม่อาจได้มาซึ่งการเกี่ยวข้องกับเครื่องมือเครื่องใช้จากความเห็นเกี่ยวกับสิ่ง บ่อยครั้งที่เครื่องมืออาจจะไม่อยู่ในบริบทของเครื่องมือ เพราะว่ามันอาจถูกหลงที่ หรืออาจจะใช้การไม่ได้ด้วยเหตุผลหลายประการ ไฮเดกเกอร์ใช้ข้อเท็จจริงนี้เป็นกุญแจสำหรับเข้าใจการได้มาซึ่งความเป็นสิ่ง (thinghood) จากการสังเกตทุกๆวันทั่วไป แสดงให้เห็นว่า เราไม่ได้รู้เครื่องมือล่วงหน้ามาก่อนถึงแม้ว่าถ้ามันมีอยู่ในมือเรา แบบพร้อมที่จะทำงานอยู่แล้ว แต่ถ้าปากกาด้ามหนึ่งซึ่งเราไม่รู้มาก่อน เมื่อมันปรากฏให้เราใช้เป็นประจำ แล้วมันชำรุด หรือสูญหาย มันก็อยู่ในความสนใจของเราทันที การสังเกตเห็นทุกวันๆกลายเป็นสิ่งเปลี่ยนแปลงไป ข้อสมมติฐานทางปรัชญาว่าความเห็นขั้นแรกเริ่มเกี่ยวกับโลก เป็นสิ่งที่บรรจงละเมียดละไม ลงมือทำ (circumspective) เครื่องมืออาจกลายเป็นสิ่งที่เสียหาย หรือ เป็นวัตถุสิ่งของที่ไม่อาจใช้ได้อย่างเหมาะสม เราค้นพบว่ามันใช้ไม่ได้ ไม่ใช่เพราะด้วยการมองดูมัน และพิจารณาคุณสมบัติของมัน แต่โดยประสบการณ์ตรง (circumspection) คือเกี่ยวข้องโดยการลงมือปฏิบัติ เมื่อเราค้นพบว่ามันใช้การไม่ได้ เครื่องมือเครื่องใช้กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจทันที ความเป็นสิ่งที่น่าสนใจนี้ทำให้มันชัดเจนขึ้นว่า สิ่งที่ไม่อาจจะใช้ประโยชน์ได้ก็เพียงว่างอยู่ตรงนั้น มันแสดงตัวมันเอง เป็นเหมือนสิ่งคือเครื่องมือชิ้นหนึ่ง (equipment thing)
ประเด็นสำคัญ  เรื่อง  วิเคราะห์โลก  ของ  ไฮเดกเกอร์
-ไฮเต็กเกอร์ต้องการชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปต่างๆในโลก ตามแบบฉบับเดิมที่เป็นธรรมชาติที่สุดคือเน้นการเกี่ยวข้องกันของสรรพสิ่งในโลกในฐานะที่เป็นสิ่งที่มีอยู่ในโลกร่วมกัน  ว่าโดยเนื้อแท้แล้วไม่มีการแยกว่า Subject-object ( อัตตา-กรรม) เพราะทุกสิ่งเสมอกันในฐานะที่เป็น Being-in-the-world-with-others.
-โลก คือส่วนประกอบอันเป็นสาระของ Dasein  เมื่อมีโลกก็ต้องมี Dasein  เมื่อมี Dasein ก็ต้องมีโลก  เพราะมันไม่อาจแยกจากกันได้
-เราให้ความสำคัญต่อการแบ่งแยกระหว่าง,subject ( อัตตา) และ object(กรรม) ที่ทำกันมาจนเป็นประเณีจนทำให้เรามองไม่เป็นสรรพสิ่งรวมทั้งเราว่าเป็นเพียง  Being-in-the-world-with-others.
-ความสัมพันธ์ขั้นแรกเริ่มจริงๆระหว่าง  Dasein (มนุษย์เรา) กับ entities (วัตถุ) เป็นความสัมพันธ์ทางภาคปฏิบัติ  แท้จริงแล้วมันคือกระบวนการตามธรรมชาติ  มันยังไม่มีความหมายใดๆ เลยว่า  Dasein  คือ  Subject  และ  entities  คือobject  
-การเผชิญหน้า / การเกี่ยวข้องกันระหว่าง Dasein  และ  entities  เป็นการเกี่ยวข้องกันขั้นแรกเริ่มโดยผ่านการปฏิบัติ  ไม่ใช่โดยความรู้ว่านั่นคืออะไร?  การลงมือปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ มีก่อน และเป็นหลักธรรมชาติแรกเริ่มที่สุด  เป็นความรู้ที่มีมาก่อนความรู้ภาคทฤษฎี กล่าวคือ  ความรู้ว่านั่นคืออะไร
-ความรู้ คือการรู้จักใช้ประโยชน์จากวัตถุ (knowing how) เป็นความรู้แท้จริงไม่ถูกปรุงแต่โดยภาษา  มีความจริงมีประโยชน์มากกว่าความรู้ภาคทฤษฎี คือรู้ว่านั่นคืออะไร (knowing that).
-ไฮเต็กเกอร์  เห็นว่า นักปรัชญาส่วนมากให้ความสำคัญต่อความรู้ประเภท  knowing that  คือความรู้ภาคทฤษฎี  เขาเน้นความสัมพันธ์ทางภาคปฏิบัติกับสิ่งต่างๆเป็นสำคัญนั่นคือ  having-to-do-with-something, producing something ฯลฯ
-Dasein  เกี่ยวข้องกับ  entities  ในฐานะของเครื่องมือเครื่องใช้ การใช้งาน และ ได้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆ
-Dasein  ไม่ได้คุ้นเคยกับสิ่งต่างๆก่อน แต่ใช้ประโยชน์มัน แล้วก่อให้เกิดความรู้สิ่งต่างๆ
-ความรู้ของเราต่อ  entities  ไม่ใช่การมองดู  แต่เป็นการลงมือทำคือใช้งานมัน
- ความรู้ 2 ประเภท  คือ ความรู้จากการสังเกต  ความรู้ว่านั่นคืออะไร  และความรู้ว่าจะใช้สิ่งนั้นอย่างไร คือ ความรู้ในการใช้งาน อย่างแรก  เป็นสิ่งจำเป็นต่อ entities ความรู้อย่างที่สอง คือ รู้ว่าจะใช้งานให้ได้ประโยชน์จากสิ่งนั้นอย่างไร เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์
-knowing  that  จำเป็นต่อ  entities  ในฐานะเป็นสิ่ง(things)
-knowing  how  ในฐานะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้(equipments)
-         entities  ในฐานะเครื่องมือเครื่องใช้ (equipment) ขึ้นกับบริบทการใช้งาน
-          ไฮเด็กเกอร์ ยืนยันว่า equipment ในขณะที่ things และ knowing that เป็นสิ่งที่เกิดภายหลัง เราได้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งจากการใช้เครื่องมือ แต่ไม่อาจได้มาซึ่งความเกี่ยวข้องกับเครื่องมือจากความเห็นเกี่ยวกับสิ่ง
-           



[1]  phenomenology ปรากฏการณ์วิทยา : การศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ (phenomena)
      เฮเกล (Hegel) ใช้คำนี้ หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องจิต โดยพิจารณาการสำแดงตัวของจิตสัมบูรณ์ (absolute mind) ในรูปต่าง ๆ
     ในสมัยกลางจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางประสบการณ์
     ตั้งแต่สมัยฮุลเซิร์ล (Husserl)  เป็นต้นมา คำนี้หมายถึง วิธีการทางปรัชญา ซึ่งบรรยายปรากฏการณ์ตามความรู้โดยตรงที่ได้จากปรากฏการณ์นั้น, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาฯ หน้า ๗๙
[2]  Metaphysics  อภิปรัชญา:  ปรัชญาสาขาที่ว่าด้วยสิ่งเป็นจริง เช่น พระเป็นเจ้า (God) โลก (world) วิญญาณ (Soul) สาระ (substance) เจตจำนงเสรี (free will)  พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาฯ หน้า ๖๓
[3] มโนทัศน์  มโนภาพ Concept : ภาพที่เกิดในใจซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งหลายสิ่งที่ต่างกัน แต่มีลักษณะบางอย่างคล้ายกัน เช่น แมว เป็นมโนทัศน์ของสีดำหรือความดำทั่วไป ไม่ว่าจะปรากฏเป็นคุณลักษณะของสิ่งใดในโอกาสไหน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาฯ หน้า ๑๙
[4]  essence  สาระ,  สารัตถะ,  แก่นสาร : ภาวะอันมีเนื้อแท้ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นตัวของตัวเอง และแตกต่างกับสิ่งอื่น เช่น นักปรัชญาบางคนถือว่าความมีเหตุผลเป็นสารัตถะของมนุษย์ หรือความคมเป็นสารัตถะของมีด, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาฯ หน้า ๓๔